เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ปภ.เปิดสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการภัยพิบัติ "ในโอกาส 2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3"


4 ส.ค. 2565, 16:06



ปภ.เปิดสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการภัยพิบัติ "ในโอกาส 2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3"




วันนี้ ( 4 ส.ค.65 ) เวลา 10.15 น. ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการสาธารณภัย “ในโอกาส 2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” (DDPM’s efforts to achieve a safe and sustainable disaster management in forthcoming decade) ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดขึ้น เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสาธารณภัยเชิงรุกของประเทศ โดยมีนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายชัยณรงค์  วาสนะสมสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย นายบรรจบ จันทรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสมศักดิ์  เจริญไพฑูรย์  รองอธิบดีกรมการปกครอง นายสมเกียรติ ถนอมกิตติ รองอธิบดีกรมที่ดิน นายสักรินทร์ อินทรสถิตย์ ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายนิกม์ แสงศิรินาริน ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร นายสมชาย อัศวินเรืองชัย นางโสภาพรรณ  ตันติภนา เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงผู้แทนหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการจัดการภัยพิบัติ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา รวมกว่า 500 คน เข้าร่วมการสัมมนาฯ 

โอกาสนี้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้กล่าวปาฐกถา (เทป) หัวข้อ “การก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปภ.” ในงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย



นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานพิธีเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการสาธารณภัย “2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” และปาฐกถา หัวข้อ “แนวโน้มการจัดการสาธารณภัยมุ่งสู่ทศวรรษที่ 3” ว่า ปัจจุบันเราจะเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าสาธารณภัยนั้นเป็นประเด็นท้าทายอย่างยิ่งของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดที่รวดเร็วและรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะนับได้ว่าเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนและทุกมิติจะต้องร่วมมือร่วมใจกันเตรียมความพร้อมการจัดการสาธารณภัยเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น เป็นที่ทราบกันดีกว่าการจัดการสาธารณภัยนั้นไม่สามารถดำเนินการได้เพียงหน่วยงานเดียว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ในฐานะหน่วยงานกลางของรัฐในดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และสื่อมวลชน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการสาธารณภัย เพราะภัยพิบัติเกิดขึ้นในพื้นที่ ท้องถิ่นจึงเป็นกลไกแรกในการเข้าไปบริหารจัดการสาธารณภัยระดับพื้นที่  ดังนั้น การจัดการสาธารณภัยของประเทศที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพนั้นเราจะต้องให้ความสำคัญและสร้างความเข้มแข็งในการการบริหารจัดการสาธารณภัยตามวงจรการลดความเสี่ยงสาธารณภัยที่ครอบคลุมทั้งการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการฟื้นฟูบูรณะที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า ขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบสองทศวรรษของการจัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของรัฐที่มุ่งมั่นแน่วแน่ในการบูรณาการการจัดการสาธารณภัยบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมาโดยตลอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการก้าวเดินไปสู่ทศวรรษที่ 3 ของการจัดการสาธารณภัย จะต้องเป็นการขับเคลื่อนด้วยการร่วมแรง ร่วมใจและสานพลังของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเริ่มต้นจากพลังท้องที่และท้องถิ่นบูรณาการในการมุ่งไปสู่การสร้างพลังแห่งการจัดการสาธารณภัยร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยจากสาธารณภัยอย่างยั่งยืน  
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้ปาฐกถา (เทป) หัวข้อ “การก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปภ.” ว่า การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศเราถือว่าดำเนินการได้ดีในระดับหนึ่ง ทั้งในด้านนโยบายและการเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม หากสามารถเพิ่มศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกมิติได้ ก็จะทำให้สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชน และสร้างความปลอดภัยจากสาธารณภัยอย่างยั่งยืนได้ การบริหารจัดการสาธารณภัยตามนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ และกรอบของ UN จึงต้องมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงภัยในทุกมิติและการเตรียมพร้อมในทุกระดับอย่างเข้มแข็ง ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องสามารถบูรณาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของกฎหมายและแผนเดียวกันได้อย่างเป็นระบบ เพื่อเสริมให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการจัดการสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ได้บูรณาการบริหารจัดการสาธารณภัยตามกรอบและทิศทางการปฏิบัติงานด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศครอบคลุมในทุกมิติ และทุกระดับอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการเป็นเอกภาพและทำงานแบบเสริมกำลังกัน โดยตลอดระยะเวลา 20 ปี ของ ปภ. ได้ผลักดันการบูรณาการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้แก่หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง งานสัมมนาที่ได้จัดขึ้นในวันนี้ เป็นการส่งเสริมแนวคิดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและนำไปสู่การเตรียมพร้อมบริหารจัดการสาธารณภัยเชิงรุก โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิดทางวิชาการ และผลการดำเนินงานด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ร่วมกันระหว่าง ปภ. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการจัดการภัยพิบัติ รวมถึงยังเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นการจัดภัยพิบัติในมิติต่างๆ กับนักวิชาการที่มากประสบการณ์ในหลากหลายสาขาวิชาชีพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติของประเทศ เพื่อนำไปสู่การบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


สำหรับงานสัมมนาเชิงวิชาการ “2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 (DDPM’s effort to achieve a safe and sustainable disaster management in forthcoming decade) จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลากหลายรูปแบบ อาทิ เวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับประเด็นการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานด้านจัดการภัยพิบัติจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สถาบันวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรระหว่างประเทศ ภาคเอกชน มูลนิธิ 

นอกจากนี้  ยังมีมาร์เก็ตเพลสนวัตกรรมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จาก ปภ. และหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการจัดการภัยพิบัติ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา อาทิ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด บริษัท เอสเอฟเทค เทคโนโลยี จำกัด บริษัท เมอร์เมด บางกอก จำกัด บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และบริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด ที่มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการสาธารณภัยและเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาทิ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ โดรนกู้ภัย โดรนสำรวจ สถานีฝึกดับเพลิงแบบ VR ชุดยานยนต์สนับสนุนงานกู้ภัยแบบควบคุมด้วยระบบควบคุมระยะไกล เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงรุก ระบบประมวลน้ำฝนแบบ Real-Time แอปพลิเคชันพ้นภัยการจำลองพื้นที่เกิดเหตุอาคารถล่ม เครื่องมืออุปกรณ์และหุ่นจำลองนักกู้ภัย นวัตกรรมควบคุมเพลิงไหม้ระดับอวกาศ อุปกรณ์สำหรับหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำ ฯลฯ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถรับชมการสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ ถ่ายทอดสดผ่านทาง 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.