เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ฝรั่งเศสเริ่มฉีดวัคซีนต้านไข้หวัดนกให้กับเป็ดกว่า 60 ล้านตัว ยอมรับเสี่ยงกระทบส่งออก


3 ต.ค. 2566, 17:56



ฝรั่งเศสเริ่มฉีดวัคซีนต้านไข้หวัดนกให้กับเป็ดกว่า 60 ล้านตัว ยอมรับเสี่ยงกระทบส่งออก




รอยเตอร์รายงานแถลงการณ์จากบริษัท CIFOG เจ้าของฟาร์มเป็ดและผู้ค้าตับห่าน(Foie Gras)ของฝรั่งเศสว่า ทีมสัตวแพทย์ของฝรั่งเศสได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกให้กับเป็ดในฟาร์มเลี้ยงเป็ดแห่งหนึ่งในจังหวัดล็องด์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศในวันนี้ โดยมีนายมาร์ก เฟสนูร์ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฝรั่งเศส ร่วมสังเกตการณ์ เพื่อให้เป็ดทั้งหมดในฟาร์มเป็ด คนเลี้ยงสัตว์ ตลอดถึงคนงานในโรงฆ่าสัตว์ของฝรั่งเศสปลอดภัย อีกทั้งช่วยสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส หลังมีเป็ดตายหลายล้านตัวทั่วโลก แม้ว่าความเคลื่อนเช่นนี้ ทำให้สหรัฐฯประกาศมาตรการห้ามนำเข้าปศุสัตว์จากฝรั่งเศส


รัฐบาลฝรั่งเศสคาดว่าจะฉีดวัคซีนต้านโรคไข้หวัดนกให้กับเป็ดราว 64 ล้านตัวต่อปี ใช้งบประมาณ 96 ล้านยูโร ในจำนวนนี้ ร้อยละ 85 เป็นงบอุดหนุนจากรัฐบาล ที่ผ่านมา ฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคไข้หวัดนก ซึ่งระบาดในสัตว์ปีกเช่น เป็ด ทำให้มีการจำกัดเป็ด กระทบการส่งออกทั้งเนื้อเป็ดและไข่เป็ดสู่ตลาดโลก อีกทั้งทำให้ราคาแพงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก


การที่ไวรัสแพร่ระบาดในปศุสัตว์เช่น เป็ด ทำให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าไวรัสอาจจะกลายพันธุ์ กระทั่งสามารถแพร่จากสัตว์สู่คนหรือไม่ รัฐบาลฝรั่งเศส ได้เริ่มรณรงค์ให้เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ทั่วประเทศทำการฉีดวัคซีนให้กับเป็ด ทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ส่งออกรายแรกของโลกที่ทำการฉีดวัคซีนสำหรับเป็ด แต่มาตรการกีดกันทางการค้าเนื่องจากการฉีดวัคซีนให้กับสัตว์อาจจะทำให้ผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่บางแห่งของฝรั่งเศสรู้สึกอึดอัดใจที่จะเข้าร่วมโครงการ และฉีดวัคซีนให้กับเป็ด หวั่นเกรงจะสูญเสียรายได้จากการส่งออก


ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯเริ่มห้ามนำเข้าปศุสัตว์จากฝรั่งเศส มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เพราะเสกัดการนำสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสมาแพร่ยังสหรัฐฯ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯระบุอีกว่า เป็ดที่รับวัคซีนแล้วอาจจะไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่สัตวแพทย์รู้ว่ามีเชื้อไวรัสอยู่ในเป็ด หรือไม่





คำที่เกี่ยวข้อง : #ฝรั่งเศส  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.