เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



นี่แหละจอมยุทธแห่งบึงน้ำ "นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน"


4 ก.ย. 2566, 18:29



นี่แหละจอมยุทธแห่งบึงน้ำ "นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน"




 

นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน (Bluc-Eared Kingtisher) เป็นนกที่มีสีสันสวยงามและหาชมได้ยาก หัวและปีกสีน้ำเงิน ขนปีกมีแต้มสีฟ้า ช่วงหัวกระหม่อมมีลายสีฟ้าแวววาว ตะโพกสีฟ้าอ่อน ปากสีดำ หลังสีน้ำเงิน กินสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง จะล่าเหยื่อโดยการเกาะนิ่งๆ เพื่อมองหาเหยื่อ เมื่อพบแล้วจะพุ่งลงไปจับในน้ำอย่างรวดเร็ว นกกระเต็นชนิดนี้ ทำรังวางไข่โดยการเจาะรูในดินตามตลิ่งหรือเจาะในรังปลวก อาศัยตามลำธาร แม่น้ำหรือบึงน้ำ ในป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบ ป่าชายเลน
นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน  มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alcedo
menining ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาชวา (มาเลเซีย) คือ meninting ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกนกชนิดนี้โดยเฉพาะ เป็นชนิดที่พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเชีย ทั่วโลกมีนก
กระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Alcedo meninting collarti Stuart
Baker ชื่อชนิดช่อยเป็นคำที่ตัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล เป็นชนิดย่อยที่พบครั้งแรกที่เมือง Saddya ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย อีกชนิดย่อยหนึ่งคือ Alcodo meninting verrcauxi De La Berge ชื่อชนิดช่อยเป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคลเช่นเดียวกัน เป็นชนิดช่อยที่พบครั้ง
แรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเชีย
การกระจายพันธุ์ : นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำงินกระจายพันธุ์ในอินเดีย จนถึงจีนด้านตะวันตกเฉียงใด้ ฟิลิปปินส์ เกาะอันดามัน กาะนิฌคบาร์ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่ ใน
เอเชียตะ วันออกเฉียงใต้พบในพม่า ไทย มาเลเชีย ลาว และเวียดนาม 
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (16 ชม.) แตกต่างจากนกกระเด็นน้อยธรรมดาโดยขนปกคลุมรูหูเป็นสีน้ำเงิน ด้านบนลำตัวเป็นสีเขียวเข้มและน้ำเงินเข้มมากกว่า รวมทั้ง
แถบที่พาดจากกลางหลังไปยังตะโพกและขนปกคลุมบนหางก็เป็นสีน้ำเงินมากกว่า ด้านล่างลำตัวเป็นสีน้ำตาลเหลืองเข้มกว่าเล็กน้อย ปีกยาวน้อยกว่า 8.0 ชม. ปากสีดำ บริเวณไคบปาก
อุปนิสัยและการกินอาหาร :เป็นนกที่พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบชื้นบริเวณที่ใกลักับลำธาร ลำห้วย ตั้งแต่พื้นราบ จนกระทั่งความสูง 900 เมตร จาก
ระดับน้ำทะเล เป็นนกที่มีอุปนิสัยต่าง ๆ คล้ายคลึงกับนกกระเต็นน้อยธรรมดามาก มักพบโดดเดี่ยว มักเกาะอยู่เงียบๆตามกิ่งไม้เตี้ย ๆ หรือโขดหินตามริมหัวย หรือลำธาร 
สถานภาพ นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน เป็นนกประจำถิ่นของไทย พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก ชนิดย่อย collari พบในภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย verreauxi พบในภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
สถานภาพตามกฎหมาย :กฎหมายจัดนกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน ทุกชนิดย่ยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ข้อมูล: เอกสารอ้างอิง หนังสือชุด นกในเมืองไทย เล่มที่ 2
ภาพ : อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว





คำที่เกี่ยวข้อง : #นกกระเต็น  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.