เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กรมทรัพยากรธรณี พบซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลาม สัตว์ทะเลโบราณ เกาะวัวตาหลับ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี


14 ส.ค. 2566, 13:45



กรมทรัพยากรธรณี พบซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลาม สัตว์ทะเลโบราณ เกาะวัวตาหลับ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี




จากกรณีกรมทรัพยากรธรณี พบซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลาม สัตว์ทะเลโบราณ เกาะวัวตาหลับ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งเดียวของไทยและหนึ่งเดียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 ได้ร่วมกันตรวจสอบซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ในช่วงเดือนกันยายน 2562 ที่พบชากดึกดำบรรพ์ ฟันแกนกลางฐานโค้ง มีความใกล้เคียงกับสกุล Helicampodus หนึ่งเดียวของประเทศไทย ซึ่งพบครั้งแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด และสามารถกำหนดให้ฟันปลาฉลามโบราณมีอายุประมาณ 280-275 ล้านปีก่อน

 



ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2566 นายประยูร พงศ์พันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง นายจิรศักดิ์ เจริญมิตร ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ธรณีวิทยาและธรรมชาติวิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 ร่วมกับ ผศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายฟาอิศ จินเดหวา กฟผ. (เหมืองแม่เมาะ) และ Professor Gilles Cuny ผู้เชี่ยวชาญซากดึกดำบรรพ์ปลาฉลาม University Claude Bernard Lyon 1 จากประเทศฝรั่งเศส ได้ทำการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ฟันฉลามวงล้อตรงกลางปากสกุล Helicampodus

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า "น่าจะมีความเป็นไปได้สูงที่ซากดึกดำบรรพ์ชิ้นนี้จะเป็นชนิดใหม่ของโลกที่แก่สุดในสกุลเดียวกัน ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องมือ Computerized Tomography Scan (CT-Scan) เพื่อช่วยให้การระบุชนิดเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และสามารถแสดงลักษณะที่อาจถูกบดบังด้วยเนื้อหินหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ได"



คำที่เกี่ยวข้อง : #onbnews  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.