เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



จังหวัดบึงกาฬ เปิดโรงเรียนมือถือ (Mobile School) เป็นแห่งที่ 2 ของประเทศ


21 มิ.ย. 2566, 21:45



จังหวัดบึงกาฬ เปิดโรงเรียนมือถือ (Mobile School) เป็นแห่งที่ 2 ของประเทศ




จังหวัดบึงกาฬ เปิดโรงเรียนมือถือ' (Mobile School) เป็นแห่งที่ 2 รองจากจังหวัดนครพนม ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ปีในมิติการศึกษาตาม เป้าหมายร่วมที่ว่า "จังหวัดบึงกาฬจะไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง เด็กและเยาวชนทุกคนต้องได้รับการพัฒนา"

นายอนันต์ จรุงโรจน์รัศมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่าต่อนี้ไปจังหวัดบึงกาฬเราจะเข้มแข็งไปด้วยกันมันก็คือ strong together ซึ่ง 23 หน่วยงานที่เจ้าภาพศึกษาธิการได้เชิญมาโรงงานร่วม  MOU ในวันนี้ ซึ่งโครงการ mobile school จังหวัดนครพนมเป็นแห่งแรก และจังหวัดบึงกาฬเราเป็นแห่งที่สอง ซึ่งถือว่าจังหวัดบึงกาฬเรามีศักยภาพและมันก็จะสอดคล้องกับ smart city smart farmerและsmart citizen คนในชาติเราอย่างน้อยต้องอ่านออกเขียนได้ทุกคนกรณีที่เด็กไม่สามารถเข้าสู่ระบบโรงเรียนได้บางคนอาจจะมีความจำเป็น ในความเป็นอยู่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นพวกเราที่เกี่ยวข้องและมาร่วมลงนามMOU ร่วมกันพัฒนานำเสนอคุณภาพชีวิตการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของเด็กเยาวชนจังหวัดบึงกาฬที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาในวันนี้ พยายามไปเชิญชวนน้องๆ เข้ามาเรียนรู้เพราะการเรียนรู้ในระบบสื่อสารสมัยใหม่ดูแล้วเป็นการเรียนการสอนหรือเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงมาก อย่างที่เราเห็นในการเลือกตั้งส.ส ที่ผ่านมาสื่อโซเชียลหรือสื่อในมือถือมีบทบาทในการช่วยหาเสียงทำให้พรรคการเมืองหลายๆ พรรคสะดวกสบายในการเดินทางไปประชาสัมพันธ์หรือหาเสียงให้พรรคหรือให้กับตนเองได้ดียิ่งขึ้น ดังที่เราทราบๆ กันอยู่

 

 



ด้าน ว่าที่ร้อยตรีพูนศักดิ์ พระรัตภูมี ศึกษาธิการจังหวัดกล่าวว่า เด็กเยาวชนทุกช่วงอายุที่ไม่สามารถเข้าเรียนในระบบได้อาจจะด้วยเหตุผลหรืออุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นซึ่งโครงการ mobile school มีวัตถุประสงค์ 3 อย่างคือ 1 เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กเยาวชน 2 เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนจังหวัดบึงกาฬ 3 เพื่อภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบกลไกค้นหาเด็กที่อยู่นอกระบบที่เป็นเด็กตกหล่น โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนคุณภาพการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนนอกระบบในจังหวัดบึงกาฬ (บึงกาพโมเดล) บึงกาพโมเดล คืองานขับเคลื่อนการสร้างโอกาสทางการศึกษาบนพื้นฐานของความเสมอภาคโดยมีเป้าหมายให้เด็กเยาวชนทุกคนในพื้นที่ได้รับโอกาสเรียนรู้พัฒนาตนเองผ่านการทำงานกับเด็กเยาวชน 3 กลุ่ม ตั้งแต่ 'ต้นน้ำ' คือเด็กกลุ่มเสี่ยงหลุดจากระบบที่ยังอยู่ในสถานศึกษา กลุ่ม 'กลางน้ำ' คือเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษากลางทาง หรือ 'เด็กแขวนลอย' และ กลุ่ม 'ปลายน้ำ' คือเด็กเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม แผนงานของ 'บึงกาฬโมเดล' คือความร่วมมือตั้งแต่ระดับฐานข้อมูลเชิงลึกของเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกระบบในจังหวัด แบ่งการทำงานตั้งแต่ในเชิงประเด็นปัญหา รูปแบบการพัฒนา การระดมองค์ความรู้และการกระจายงานในเชิงพื้นที่โดยมีหน่วยงานที่เป็นเครือข่าย จนเกิดผลลัพธ์ด้านข้อมูลที่สามารถจำแนกกลุ่มเด็กเยาวชนออกได้ตามลักษณะ มีโรงเรียนต้นแบบ ตำบลต้นแบบ ผลิตหลักสูตรทางเลือกที่น่าสนใจ อาทิ 'โรงเรียนมือถือ' (Mobile School) มีงานวิจัยระยะยาวภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ปี บนเป้าหมายที่ว่าภายในปี 2567 จะไม่มีเด็กนอกระบบอยู่ในจังหวัดบึงกาฬอีกต่อไป ภาคีเริ่มต้นด้วยการวางแผนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมระดมสมองพัฒนาหลักสูตร หรือปรับปรุงต่อยอดหลักสูตรที่มีอยู่ให้มีมิติมากขึ้น จากนั้นจึงตั้งธงว่าหลักสูตรนั้น 1 เหมาะกับเยาวชนกลุ่มใด ผลลัพธ์ของหลักสูตรคืออะไร เป้าหมายคืออะไร เมื่อลงตัวแล้วจึงเริ่มสำรวจข้อมูลพื้นฐานของหลักสูตร สร้างฐานข้อมูล ยกร่างหลักสูตรโดยไม่ลืมเว้นพื้นที่ไว้ให้ปรับปรุงช่องโหว่ยืดหยุ่นให้ได้มากที่สุดจังหวัดบึงกาพโดยภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการจัดการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาทั้งเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาในชุมชนและเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม โดยการร่วมมือใน 5 เรื่องสำคัญประกอบด้วย 1.การจัดทำฐานข้อมูลเด็กนอกระบบการศึกษา 2.การพัฒนาหลักสูตรเด็กนอกระบบการศึกษา 3.การจัดการเรียนรู้ร่วม 4.การวัดและประเมินผลร่วม5.การขยายเครือข่ายการทำงาน การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ในการเข้าถึงเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้ได้รับโอกาสในการเข้ารับการศึกษารวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านกระบวนการสัมมาชีพที่สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในมิติการศึกษาตาม เป้าหมายร่วมที่ว่า "จังหวัดบึงกาฬจะไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง เด็กและเยาวชนทุกคนต้องได้รับการพัฒนา"

 


สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาพผู้รับผิดชอบโครงการ ได้วางแผนการดำเนินงานเรื่องของฐานข้อมูลทางการสร้างกลไกระดับจังหวัดที่มีการติดตามโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นแกนหลักในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างความร่วมมือระดับพื้นที่และพัฒนาเครือข่าย กลไกในการกำหนดนโยบายคือสร้างความตระหนัก โดยจัดทำ MOU และทำเรื่องฐานข้อมูลในการวิเคราะห์จัดทำฐานข้อมูล โดยนำระบบ โปรแกรม DMC มาเชื่อมโยงข้อมูลสำรวจคันหา และพัฒนารูปแบบการศึกษาห้องเรียนออนไลน์, ห้องเรียนมือถือ, 1 โรงเรียน 3 ระบบ, โรงเรียนจัดการศึกษารูปแบบบูรณาการตามมาตรา 12, กศน., อาชีวศึกษา, ชุมชน Set Zero และทำภาคีเครือข่ายเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน ระบบบริหารจัดการที่ดี มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามพัฒนาต่อยอด ต่อมาเป็นพื้นที่ต้นแบบจะเป็นห้องเรียนต้นแบบ ตำบลต้นแบบและอำเภอต้นแบบ

สำหรับ 23 หน่วยงานที่มาร่วมลงนาม MOU ประกอบด้วยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาระบบสนับสนุนคุณภาพการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนนอกระบบในจังหวัดนึงกาฬ (บึงกาฬโมเดล)ระหว่างจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดบึงภาฬองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ เทศบาลเมืองบึงกาฬ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดบึงกาฬ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดบึงกาฬ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดบึงกาฬ เรือนจำจังหวัดบึงกาฬสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบึงกาฬ บ้านพักเด็กแลครอบครัวจังหวัดบึงกาฬสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดบึงกาฬสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 244 มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนศูนย์การเรียน ชี วาย เอฟ

 

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.