เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



นายกฯ สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในทุกมิติ ชื่นชมความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ องค์การเพื่อสตรี UN


7 เม.ย. 2566, 09:43



นายกฯ สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในทุกมิติ ชื่นชมความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ องค์การเพื่อสตรี UN




วันนี้(7 เม.ย. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กับ องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศของสตรีในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ เชื่อมั่นจะเป็นอีกกลไกเพื่อเพิ่มความเสมอภาคทางเพศ ส่งเสริมสตรีในธุรกิจ

โฆษกประจำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สสว. และ UN Women หารือกำหนดเป้าหมายสร้างความยั่งยืน ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ (gender equality) และความหลากหลาย (diversified) โดยบริษัทขนาดใหญ่กำหนดนโยบายให้โควต้าสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการ SME กลุ่มสตรี และกลุ่มเปราะบาง ได้เข้าร่วม จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งจากข้อมูลในปัจจุบันปรากฎว่า มีการจัดซื้อจัดจ้างจากธุรกิจที่สตรีเป็นเจ้าของเพียงแค่ร้อยละหนึ่ง



ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จะร่วมมือกันใน 3 เรื่องหลัก ประกอบไปด้วย 1. การศึกษางานวิจัยร่วมกัน ทบทวนนโยบายที่สร้างสภาพแวดล้อมและสร้างโอกาสความเท่าเทียม ให้กลุ่มผู้ประกอบการสตรี 2. การเชื่อมโยงผู้ประกอบการสตรี เข้ากับผู้ซื้อที่เป็นองค์กรรัฐและเอกชน 3. ส่งเสริมการขยายโอกาสทางการตลาดและสร้างเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีความหลากหลาย จากการลงนามในข้อตกลงนี้ จะส่งเสริมให้มีการสร้างฐานข้อมูลของสัดส่วนผู้ประกอบการสตรีในไทย นำไปสู่การออกแบบมาตรการ สร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดความเท่าเทียม เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการประกอบธุรกิจ โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมกิจกรรมภายใต้โครงการ WE RISE Together

โครงการ WE RISE Together ของ UN Women ในประเทศไทยและเวียดนาม เป็นโครงการ ที่ขยายโอกาสทางการตลาด ให้ผู้ประกอบการสตรีผ่านการสร้างเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่หลากหลาย โดยจะกระตุ้นให้ภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยและเวียดนาม สามารถนำแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความเสมอภาคทางเพศ โดยขับเคลื่อนผ่าน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

1. ระบบนิเวศที่เข็มแข็ง

2. โมเดลและเครือข่ายธุรกิจที่ตอบโจทย์

3. ผู้ซื้อที่มีศักยภาพยิ่งขึ้น

4. โอกาสทางการตลาดที่เท่าเทียมมากขึ้น


"นายกรัฐมนตรี รับทราบและชื่นชมแผนการดำเนินงาน การหารือประเด็นด้านความเท่าเทียมทางเพศของสตรีในการประกอบธุรกิจ ซึ่งความเท่าเทียมทางเพศเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอดตามหลักสิทธิมนุษยชน และตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตั้งแต่ปี 2558 เชื่อมั่นว่า กลไกที่รัฐบาลกำหนดขึ้น และกลไกจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้ร่วมมือกันนั้น ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันความเท่าเทียมในสิทธิการประกอบธุรกิจ" นายอนุชาฯ กล่าว






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.