สุดสงสาร "พลายเบี่ยงเล็ก" ช้างป่าบาดเจ็บบริเวณหาง ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
2 ก.พ. 2566, 12:33

วานนี้ (1 ก.พ. 66) เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่า นางสาวมัชฌมณ แก้วพฤหัสชัย หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) รายงานว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ได้รับการประสานจากสัตวแพทย์ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) ให้เข้าร่วมรักษาอาการบาดเจ็บของช้างป่า "พลายเบี่ยงเล็ก" ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้รับบาดเจ็บเป็นแผลบริเวณหาง
โดยสัตวแพทย์ได้เข้าไปดำเนินการรักษาช้างป่าตัวดังกล่าวร่วมกับสัตวแพทย์ สัตวบาล และเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) สัตวบาลสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยพบช้างป่าบริเวณ กม.23 เขตการจัดการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 5
สัตวแพทย์ทำการยิงยาซึมจากระยะไกล ล้างทำความสะอาดบาดแผลบริเวณโคนหางที่ขาดไปแล้ว ให้ยารักษาการติดเชื้อ ให้ยาป้องกันหนอนแมลงวัน ให้ยาบำรุงกล้ามเนื้อ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อส่งตรวจดูสุขภาพทั่วไปทางห้องปฏิบัติการ
ทั้งนี้สัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) ได้ประสานให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ติดตามดูอาการต่อไป
ที่มา ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สุดสงสาร "พลายเบี่ยงเล็ก" ช้างป่าบาดเจ็บบริเวณหาง ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
วานนี้ (1 ก.พ. 66) เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่า นางสาวมัชฌมณ แก้วพฤหัสชัย หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) รายงานว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ได้รับการประสานจากสัตวแพทย์ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) ให้เข้าร่วมรักษาอาการบาดเจ็บของช้างป่า "พลายเบี่ยงเล็ก" ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้รับบาดเจ็บเป็นแผลบริเวณหาง
โดยสัตวแพทย์ได้เข้าไปดำเนินการรักษาช้างป่าตัวดังกล่าวร่วมกับสัตวแพทย์ สัตวบาล และเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) สัตวบาลสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยพบช้างป่าบริเวณ กม.23 เขตการจัดการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 5
สัตวแพทย์ทำการยิงยาซึมจากระยะไกล ล้างทำความสะอาดบาดแผลบริเวณโคนหางที่ขาดไปแล้ว ให้ยารักษาการติดเชื้อ ให้ยาป้องกันหนอนแมลงวัน ให้ยาบำรุงกล้ามเนื้อ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อส่งตรวจดูสุขภาพทั่วไปทางห้องปฏิบัติการ
ทั้งนี้สัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) ได้ประสานให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ติดตามดูอาการต่อไป
ที่มา ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช