เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"กรมควบคุมโรค" ยัน! เตียงผู้ป่วยโควิดยังเพียงพอ หลายจังหวัดเปิดวอร์ดเพิ่ม ย้ำ! เจอศพไม่ต้องตรวจหาเชื้อ


13 ธ.ค. 2565, 14:53



"กรมควบคุมโรค" ยัน! เตียงผู้ป่วยโควิดยังเพียงพอ หลายจังหวัดเปิดวอร์ดเพิ่ม ย้ำ! เจอศพไม่ต้องตรวจหาเชื้อ




วันที่ 13 ธ.ค. 65  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด 19 หลังจากมีรายงานหลายจังหวัดต้องเปิดวอร์ดโควิดเพิ่มว่า ช่วงที่โรคโควิด 19 ระบาด ทุก รพ.จะใช้ศักยภาพเตียงที่มีมาดูแลโควิดหมด พอสถานการณ์ดีขึ้นก็ปรับกลับไปดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆ แต่ตอนนี้หลายรพ.คิดว่าต้องเตรียมความพร้อม เพราะเริ่มมีผู้ป่วยเพิ่ม จึงปรับระบบเตียงกลับมาเตรียมดูแลโควิดอีก

แต่ภาพรวมการครองเตียงยังไม่ได้เป็นปัญหา ซึ่งตัวเลขรายงานเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้ป่วยปอดอักเสบ 649 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 385 ราย ถือว่าเพิ่มจากสัปดาห์ก่อนไม่มากนัก อัตราการครองเตียงในกลุ่มผู้ป่วยระดับ 2-3 หรือเตียงเหลืองแดง อยู่ในระดับที่จัดการได้ คือ ประมาณ 8.5% ของเตียงทั้งหมด แต่มีบางจังหวัดรับส่งต่อผู้ป่วยอาจจะขึ้นไปถึง 20-30% ซึ่งก็ยังไหว เพราะระบบเราสามารถเฉลี่ยข้ามเขตสุขภาพได้



“เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผู้ป่วยยังต่ำๆ เราใช้เตียงแค่ 5% ตอนนี้ขึ้นมา 8.5% ก็ยังไหว ส่วนที่เคยระบาดรุนแรงจริงๆ ขึ้นไป 20-30% ประชาชนไม่ต้องกังวล เพราะตอนนี้เราฉีดวัคซีนแล้ว ส่วนใหญ่เมื่อติดเชื้อจึงไม่ป่วยหนัก”นพ.โสภณ กล่าว

เมื่อถามว่า ปัจจุบันเมื่อพบเจอศพ แล้วตรวจ ATK พบติดโควิด ทำให้หลายคนยังตกใจ นพ.โสภณ กล่าวว่า เบื้องต้นต้องมองก่อนว่า โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ เปรียบเทียบหลังรอบนี้แล้วโควิดก็เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่อาจจะมีการป่วยและเสียชีวิตได้ มีการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อที่จะเจอบ่อยจากนี้ก็จะเป็น 2 เชื้อนี้


ดังนั้นหากดูแลตัวเองดี กังวลว่าจะรับเชื้อ เวลาจัดการกับศพต่างๆ ก็สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ ก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องไปตรวจ ATK อีก แล้วนำศพไปจัดการในรูปแบบที่ปลอดภัย เนื่องจากว่าศพไม่แพร่เชื้อ เพราะว่าศพไม่ไอ ไม่จาม เพียงแต่คนเรามีโอกาสเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อเสมอ โควิดก็เหมือนกัน ดังนั้นการตรวจโควิดอาจจะไม่ได้ประโยชน์นักในช่วงหลังจากนี้

นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ส่วนสัดส่วนการเสียชีวิตนั้น ต้องดูลักษณะของการเกิดโรคก่อน หากเป็นการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 จะต้องมีภาวะปอดอักเสบก่อน ทำให้ปอดทำงานไม่ได้ ระบบทางเดินหายใจทำงานล้มเหลว กรณีนี้เชื่อได้ว่าโควิด 19 ทำให้เสียชีวิต แต่กรณีที่ป่วยเป็นโรคอื่นๆ อาจจะมีติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเป็นโรคหัวใจ แต่ในช่วงนั้นอาจจะมีเชื้อโควิดเยอะ จึงอาจจะเป็นคนที่เสียชีวิตร่วมโควิด 19 แต่ไม่ได้เกิดจากโควิดโดยตรง ซึ่งกรณีหลังนี้พบกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิต






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.