เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"บ้านสบขุ่น" แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เก็บเม็ดกาแฟ จากต้น เข้าขบวนการผลิต ส่งกลับถึงบ้าน


1 พ.ย. 2565, 13:58



"บ้านสบขุ่น" แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เก็บเม็ดกาแฟ จากต้น เข้าขบวนการผลิต ส่งกลับถึงบ้าน




ที่บ้านสบขุ่น อ.ท่าวังผา จังหวัดน่าน โดยนายบัญชา โชติกำจร ผู้อำนวยการสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชนเครือเจริญโภคภัณฑ์  จ.น่าน พาสื่อมวลชนจังหวัดน่าน เยาวชน DNYC กองทุนพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเยาวชน จ.น่าน และมัคคุเทศก์น่าน ร่วมทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติแบบยั่งยืน ที่บ้านสบขุ่น  

บ้านสบขุ่น ถือเป็นแหล่งผลิตเม็ดกาแฟชัดดีแห่งหนึ่งของจังหวัดน่าน โดยใช้สายพันธฺอาราบิก้า ให้กับชาวบ้านเพราะปลูก แต่เดิมชาวบ้านสบขุ่น ทำอาชีพเกษตกร ทำไร่ข้าวโพด ซึ่งมีรายได้ต่อปีไม่สูงมากนัก เมื่อ 10ปีที่ผ่านมา ได้มีหน่วยงานเอกชน เข้ามาส่งเสริมอาชีพทำไร่กาแฟ และรับซื้อ รวมไปถึงการพัฒนาการเพราะปลูกกาแฟ ให้มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถสร้างรายได้ต่อครอบครัวปีละหลายแสนบาทต่อปี และยังเป็นการเพราะปลูกแบบยั่งยืน โดยพื้นที่บ้านสบขึ้นอยู่ในพื้นที่สูงและมีอุณหภูมิ ที่เหมาะสม ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกกาแฟ พันธ์อราบิก้า เป็นอย่างมาก

เดินทางไปยังไร่กาแฟ ที่ชาวบ้านในชุมชน ร่วมกันเตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยให้นักท่องเที่ยว สามารถเก็บเมล็ดกาแฟจากต้น ที่เรียกว่าเม็ดเชอรี่ จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงในไร่กาแฟ หลังจากนั้น เดินทางไปยังโรงแปรรูปเม็ดกาแฟของชุมชนบ้านสบขุ่นเพื่อนำเมล็ดกาแฟ ไปลอยน้ำและคัดเมล็ดที่ลอยออก นำไม่สีเปลือกออก จนได้เม็ดกาแฟเนื้อใน และนำไปตากแดด ใช้เวลาในการตาก 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาวะของสภาพอากาศในช่วงนั้น เมื่อเม็ดแห้งได้ที่แล้ว จะเก็บและเข้ากระบวนการผลิตการคั่ว และแพ็คใส่ถุง ส่งให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเก็บเมล็ด

นายบัญชา โชติกำจร ผู้อำนวยการสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน เปิดเผยว่า “สบขุ่นโมเดล” จากโมเดลสู่ความสำเร็จนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี พื้นที่ภาคเหนือของประเทศ มักจะเผชิญปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างหนัก ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองในอากาศเกินค่ามาตรฐาน และกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นภาคเหนือตอนบนหลายจังหวัด ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อากาศแห้งแล้งก่อให้เกิดไฟป่า หรือการเผาป่าในพื้นที่เกษตรกรรม ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะกำหนดช่วงเวลาการเผา (เผาพืชทางการเกษตร) โดยประกาศช่วงวิกฤติหมอกควัน 60 วันห้ามเผาเพื่อเป็นการควบคุม  แต่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของทุกปียังคงได้เห็นข่าวหมอกควันปกคลุมในหลายที่จังหวัดของภาคเหนือตอนบน



ทุกครั้งที่เกิดปัญหาหมอกควันขึ้นมา หลายคนมักพุ่งประเด็นไปที่ การเผาซากไร่ข้าวโพด และเผาป่า เพื่อทำไร่ข้าวโพด แต่หลังจากกระแสเขาหัวโล้นในจังหวัดน่าน ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ นำโดย คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือฯได้ลงพื้นที่บ้านสบขุ่นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2558  โดยได้รับคำแนะนำพื้นที่จากมูลนิธิปิดทองหลังพระ เข้าไปศึกษาพื้นที่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งสุดเขตจังหวัดน่าน คือ บ้านสบขุ่น ที่ห่างไกลจากตัวเมืองประมาณ 80 กม.

จากการเก็บข้อมูลในครั้งนั้น เครือซีพีพบโอกาสในการเปลี่ยนอาชีพชาวบ้าน โดยเลือกพื้นที่นำร่องที่บ้านสบขุ่น ซึ่งเครือซีพีเข้าไปร่วมสนับสนุนปลูกพืชเศรษฐกิจ และเตรียมตลาดรองรับ ในช่วงปีแรกที่ริเริ่มโครงการ มีชาวบ้านเข้าร่วมเพียง 49 ราย ต่อมาเมื่อชาวบ้านเห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีรายได้ระหว่างรอพืชหลักเจริญเติบโตและยังได้เก็บผัก ผลไม้ในไร่ในสวนมารับประทาน ที่เหลือยังนำมาขายเปลี่ยนหน้าบ้านเป็นตลาด จึงเริ่มมีความมั่นใจและทยอยเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เกิดเป็น “สบขุ่นโมเดล” ที่บ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งมีประชากร 322 คนจำนวน 1,185  ครัวเรือน พื้นที่ทำกินทั้งหมด 42,895 ไร่ เป็นพื้นที่ดอยหัวโล้นที่ถือครองในการปลูกข้าวโพด โดยเครือซีพีได้เริ่มวางโมเดลการพัฒนา เติมทักษะในสิ่งที่เกษตกรขาด ความรู้การบริหารจัดการ เงินลงทุน และช่องทางจัดจำหน่าย

 ในตอนนั้นชาวบ้านช่วยกันตั้งชื่อกลุ่ม เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบ้านสบขุ่น เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และเกิดการมีส่วนร่วมของคนในกลุ่ม จึงก่อเกิดการทำงานร่วมกับภาครัฐ ภายใต้โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามแนวทางพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพให้ปลูกไม้ป่าควบคู่ไม้เศรษฐกิจ เพื่อรักษาฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่ถูกทำลาย พร้อมกับการสร้างจิตสำนึก โดยให้ประชาชนร่วมกันฟื้นฟูป่าที่อยู่อาศัยหรือที่ทำกิน ได้จับมือกับภาครัฐ และบริษัทในเครือซีพีร่วมกันฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

จากการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าพืชเศรษฐกิจที่จะสามารถสร้างป่า สร้างรายได้ คือ กาแฟ ซึ่งให้ผลผลิตตอบแทนที่ดีช่วยลดพื้นที่ในการเพาะปลูก ถ้าใช้พื้นที่การสร้างป่าสร้างรายได้ 6,000 ไร่ ป่าจะกลับมาฟื้นฟู หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ละเหล่า คือปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก 36,000 ไร่ ขณะที่ชาวบ้านยังได้อาศัยทำกินอยู่ร่วมกับป่าได้ โดยมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชเศรษฐกิจโดยไม่ทำลายป่าไม้ นอกจากนั้นเกษตรกรบ้านสบขุ่น ได้รับจดจัดตั้งชื่อกลุ่มใหม่ โดยให้สามารถนำชื่อโครงการไปใช้ในการจัดตั้งกลุ่มได้ เป็น วิสาหกิจชุมชนสร้างป่า สร้างรายได้บ้านสบขุ่น สบขุ่นโมเดล ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 7 ของโครงการ มีชาวบ้านเข้าร่วมแล้วจำนวน 97 ราย 103 แปลง สามารถช่วยลดพื้นที่การถางและเผาป่า ภูเขาหัวโล้นได้ถึง 601 ไร่ และปัจจุบัน ได้พื้นที่ฟื้นป่ากลับมา ทั้งหมด 2,100 ไร่ เปลี่ยนจากดอยหัวโล้นเป็นที่ป่าเขียว 42 % ของพื้นที่เดิม








Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.