เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ปภ. เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 15 จังหวัด เร่งคลี่คลายสถานการณ์


13 ก.ย. 2565, 10:28



ปภ. เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม  15 จังหวัด เร่งคลี่คลายสถานการณ์




วันที่ 13 ก.ย. 65 เวลา 9.45 น. ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 15 จังหวัด รวม 41 อำเภอ 181 ตำบล 853 หมู่บ้าน โดยสถานการณ์ฝนตกหนักช่วงวันที่ 4 - 13 ก.ย.65 ทำให้ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 12 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน ลำปาง หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ เลย ปทุมธานี สมุทรปราการ สระแก้ว ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี ขณะที่ผลกระทบพายุหมาอ๊อน (ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และปทุมธานี ภาพรวมระดับน้ำลดลง ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังและดูแลผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานอิทธิพลร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่งผลเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง โดยตั้งแต่วันที่ 4 - 13 ก.ย. 65 มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 31 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สมุทรปราการ สุพรรณบุรี อุทัยธานี ปทุมธานี นนทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และตรัง รวม 79 อำเภอ 166 ตำบล 568 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 61,124 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน ลำปาง หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ เลย ปทุมธานี สมุทรปราการ สระแก้ว ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี รวม 29 อำเภอ 68 ตำบล 247 หมู่บ้าน ภาพรวมระดับน้ำลดลง ดังนี้



1. ลำพูน เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ อำเภอบ้านธิ รวม 7 ตำบล 11 หมู่บ้าน 
2. ลำปาง เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะคา อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตร รวม 10 ตำบล 37 หมู่บ้าน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
3. กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ 
4. ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอแวงใหญ่ รวม 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 10 หลังคาเรือน 
5. หนองบัวลำภู เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลหัวนา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3 หลังคาเรือน 
6. เลย เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่เทศบางเมืองเลย ตำบลชัยพฤกษ์ ตำบลนาอ่าน อำเภอเมืองเลย ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
7. ปทุมธานี เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอคลองหลวง รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 55,165 ครัวเรือน 
8. สมุทรปราการ เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางพลี รวม 11 ตำบล 46 หมู่บ้าน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
9. ระยอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแกลง แลพอำเภอเมืองระยอง รวม 5 ตำบล 21 หมู่บ้าน
10. จันทบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาคิชฌกูฎ อำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอมะขาม รวม 19 ตำบล 101 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 873 ครัวเรือน
11. สระแก้ว เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
12. ชลบุรี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีราชา และอำเภอบางละมุง รวม 3 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 150 ครัวเรือน


ขณะที่สถานการณ์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก และปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก ลำน้าสาขามีปริมาณมาก ส่งผลให้น้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ ล่าสุดวันนี้ (13 ก.ย.65)  ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และปทุมธานี (อำเภอเมืองปทุมธานี,อำเภอสามโคก) รวม 12 อำเภอ 112 ตำบล 606 หมู่บ้าน ภาพรวมระดับน้ำลดลง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้วได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”


คำที่เกี่ยวข้อง : #ปภ.   #น้ำท่วม   #ONBnews   #โอเอ็นบีนิวส์   #ข่าว   #ออนไลน์  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.