เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ก.เกษตรฯ เร่งแก้ปุ๋ยแพง-ขาดแคลน งัดมาตรการ 3 ระยะ ส่งเสริมใช้ปุ๋ยผสมผสานลดนำเข้า


20 ก.ค. 2565, 15:13



ก.เกษตรฯ เร่งแก้ปุ๋ยแพง-ขาดแคลน งัดมาตรการ 3 ระยะ ส่งเสริมใช้ปุ๋ยผสมผสานลดนำเข้า




วันนี้ ( 20 ก.ค.65 ) นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่เกษตรกรไทยกำลังเผชิญกับราคาปุ๋ยที่แพง ปุ๋ยขาดแคลนและขาดเสถียรภาพ ซึ่งปัญหาดังกล่าว เกิดจากสาเหตุปัจจัยต่างๆ ทั้งปุ๋ยในตลาดโลกที่มีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง จีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออก ปุ๋ยรายใหญ่ของโลก ได้ชะลอการส่งออก รัสเซียได้ประกาศห้ามส่งออกปุ๋ยเคมี ตลอดจนราคาน้ำมัน แก๊ส ค่าระวางเรือสูงขึ้น ส่งผลให้ปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น โดยปัจจุบันไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ ถึงร้อยละ 98 รวมปีละกว่า 5 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 40,000 - 50,000 ล้านบาท

ในเรื่องดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกียวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาปุ๋ยแพงและปุ๋ยขาดแคลน โดยมอบหมายให้ทุกกรมเร่งเเก้ไข โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดการมาตรการแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงและไม่มีเสถียรภาพ ปี 2565 – 2569 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ลดการนำเข้าปุ๋ย จากต่างประเทศ และให้เกษตรกรเข้าถึงปุ๋ยที่มีคุณภาพ เพียงพอและทั่วถึง



โดยมาตรการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ได้เตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้น อาทิ โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน หรือ One Stop Service

แก้ปัญหาระยะกลาง ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยภายในประเทศ ทั้งในส่วนของโปแตช และแอมโมเนียมซัลเฟต ซึ่งประเทศไทยมีแหล่งสินแร่โปแตช ที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแม่ปุ๋ยได้ รวมถึงเจรจาแลกเปลี่ยนแม่ปุ๋ยกับประเทศมาเลเซียและอื่นๆ


การแก้ปัญหาระยะยาว ได้จัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคาปุ๋ย เมื่อมีความพร้อมในการผลิตแม่ปุ๋ยโปแตสเซียมแล้ว จะเจรจาการกำหนดราคาแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ร่วมกับประเทศมาเลเซียและจีน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพของแม่ปุ๋ย ทั้งปริมาณและราคา นอกจกนี้ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์นำเอาปุ๋ยคอกมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น ทั้งในนาข้าว พืชสวน พืชไร่ ในการบำรุงดิน

ปุ๋ยจากมูลสัตว์ สามารถนำมาใช้ในการผลิตพืชในครัวเรือน เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และลดต้นทุนการผลิตได้ ทำให้ภาพรวมของปริมาณมูลสัตว์แห้งจากฟาร์มปศุสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณรวมปีละกว่า 27 ล้านตัน สามารถนำเอามูลสัตว์ไปผลิตเป็นปุ๋ยคอกนำไปใช้เองและจำหน่ายให้เกษตรกรทั่วไป และเชิงพาณิชย์ ช่วยให้สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีที่ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.