เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เอาไม่อยู่ ! "ช้างป่า" บุกทำลายพืชไร่ทางการเกษตร เฝ้าระวังผลักดับกลับคืนสู่ป่า


2 ก.ค. 2565, 11:27



เอาไม่อยู่ ! "ช้างป่า" บุกทำลายพืชไร่ทางการเกษตร เฝ้าระวังผลักดับกลับคืนสู่ป่า




วันนี้ 2 ก.ค. 65 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี (ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาช้างป่า จังหวัดกาญจนบุรี) ได้รับแจ้งจาก นายสำเนาว์ เหมือนจิต ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านช่องกระทิง เมื่อกลางดึกได้มีช้างป่าไม่ทราบจำนวนและคาดว่ามีตัวเล็กด้วย ได้เข้ามากินและทำลายพืชไร่ทางการเกษตร ของนายวิหาร แซ่อึ้ง บ้านเลขที่ 36 หมู่ 4 บ้านช่องกระทิง ต.ช่องสะเดา เสียหายเป็นจำนวนมาก  จึงเฝ้าระวังและผลักดันให้ช้างป่ากลับเข้าพื้นที่ป่า พร้อมแจ้งเตือนชาวบ้านให้ระมัดระวังความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน

สำหรับปัญหาดังกล่าวนี้ ทางนายวสันต์  สุนจิรัตน์ กำนันตำบลช่องสะเดา ได้จัดเวรยามเฝ้ากันมาต่อเนื่อง ช้างป่าก็หายไปพัก แต่การเฝ้าระวังจะทำได้ไม่ตลอด เนื่องจากทุกคนก็มีภาระ แต่พอหยุดการเฝ้าพี่ใหญ่ ก็พากันลงมาทุกครั้ง และการลงมาแต่ละครั้ง ก็สร้างความเสียหายแก่พืชไร่ชาวบ้านพังยับเยิน ทิ้งไว้เพียงเศษและรอบเท้าไว้ให้เจ้าของไร่ดูต่างหน้า ทางผู้นำท้องถิ่นได้วอนขอเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ช่วยดูแลชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่า เพื่อให้ประชาชน ได้ใช้ชีวิตและดำรงชีพได้อย่างปกติ

ล่าสุดทางจังหวัดกาญจนบุรี ก็ได้ให้ทางหัวหน้าสำนักงานป้องกันภัยจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายของชาวบ้าน ซึ่งมีทั้ง พืชไร่ เช่น มันสัมปะหลัง อ้อย กล้วย มะม่วง ขนุน และอื่นๆ จำนวนมาก แต่การแก้ไขปลายเหตุชาวบ้านที่ได้ลงมือปลูกพืชไร่ มานานนับปี ดูแลใส่ปุ๋ย ใส่น้ำ กว่าจะได้ผลผลิต ใกล้จะเก็บขายได้ ก็จะเจอดบรรดา พี่ใหญ่ เหล่านี้ลงกัดกินทำลายจนเสียหายเพียงค่ำคืนเท่านั้น

สำหรับโขลงช้างป่าทั้งหมดนี้ในอดีตมีประมาณ 100 ตัว แต่ในปัจจุบันคาดว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 200 ตัว ขึ้นไป ซึ่งช้างป่าเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตทุ่งใหญ่นเรศวรฯ ในเมื่อถึงเวลาช่วงเข้าฤดูแล้ง โขลงช้างป่าเหล่านี้ก็จะพากันเดินลงมาหาแหล่งอาอาร หาแหล่งน้ำ ซึ่งเส้นทางที่ช้างป่าจะเดินลงมากหาแหล่งน้ำก็จะมีชาวบ้านเกษตรกรปลูกพืชไร่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงใกล้ฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปี พืชไร่ชาวบ้านจึงไม่ต่างกับ เซเว่น ของคน ช้างป่าก็ได้เข้ากัดกินกันอย่างอิ่มหมีพลีมันกันถ้วนหน้ากันไป และคงทิ้งเพียงเศษซากไว้ให้เจ้าของไร่ได้ดูต่างหน้าเท่านั้น

ส่วนการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางผู้นำท้องถิ่นได้เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาช้างให้เป็นอย่างถาวร ซึ่งก่อนหน้านี้หน่วยงานอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช ได้รับงบประมาณลงมาเพื่อทำแนวป้องกันช้างป่าบริเวณจุดนี้ด้วยงบประมาณไม่น้อย แต่สุดท้ายแนวรั้วป้องกันช้างไม่สามารถป้องกันช้างป่าเหล่านี้ได้เลย ถูกช้างป่าที่ฉลาดมาก ใช้วิธีล้มต้นไม้ขนาดใหญ่ลงมาทับรั้วเหล่านั้น ก่อนพากันเดินช้ามเข้ามาหากินผลผลิตสร้างความเสียหายเช่นทุกวันนี้









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.