เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"แขวงการทางน่าน" แจงดราม่า ! เสาหลักนำทางหรือเสาหลักลาย หลังชาวเน็ตโพสต์แซว สอดไส้ไม้ไผ่


6 พ.ค. 2565, 09:02



"แขวงการทางน่าน" แจงดราม่า ! เสาหลักนำทางหรือเสาหลักลาย หลังชาวเน็ตโพสต์แซว สอดไส้ไม้ไผ่




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ลงพื้นที่ตรวจสอบตามที่ได้รับแจ้งข้อมูล บนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 สายภูเพียง-แม่จริม ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 10 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 พบเสาหลักนำทาง (หลักลาย) ในช่วงดังกล่าวมีลักษณะแปลกจากปกติ จากการลงไปตรวจสอบพบว่า เป็นเสาหลักนำทาง (หลักลาย) ชนิดใหม่ที่ผลิตโดยใช้ยางพารา โดยหลายต้นได้รับความเสียหายปริแตก หักโค่น และถูกไฟเผา ทำให้เห็นสภาพแกนกลางข้างในว่ามีไม่ไผ่อยู่  

จากการลงพื้นที่สำรวจ ประมาณกิโลเมตรที่ 13 เป็นบริเวณที่มีการถ่ายรูปนำมาโพสต์ พบหลักนำทาง (หลักลาย) 1 ต้น มีลักษณะปริแตกและมีไม้ไผ่เป็นแกนกลาง สาเหตุอาจเกิดจากอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชน จากการสำรวจพบว่า ระหว่างกิโลเมตรที่ 10-14 มีการใช้เสาหลักนำทางที่ผลิตจากยางพารา จำนวน 260 ต้น เสียหายไป 5 ต้น มีทั้งหักและปริแตก และก็เกิดจากไฟไหม

ทั้งนี้ นายนรินทร์ เอี่ยมทอง รองผู้อำนวนการทางแขวงทางหลวงน่านที่ 1 ชี้แจงว่า เรื่องหลักนำทางสอดใส้ไม้ไผ่ แขวงน่านที่ 1 ได้รับงบประมาณในการจัดชื้อหลักนำทางยางพาราในปี2564 โดยเป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราของรัฐบาลให้นำมาติดตั้งแทนเสาคอนกรีตที่มีอยู่และเพิ่มเติมในส่วนที่ติดตั้งไม่ครบชึ่งเพื่อช่วยเหลือลดการสูญเสียจากการชนและใช้เป็นแนวนำทางในการขับรถไม่ได้ป้องกันรถ ชนเพราะถ้าชนไม่ว่าเป็นเสาคอนกรีดตหรือเสายางพาราก็กั้นไม่อยู่

ในส่วนที่มีไม้ไผ่ในเสาเพื่อเป็นการช่วยในการติดตั้งให้ไวขึ้นเนื่องจากตอนได้เสามาใหม่ๆเสามีความอ่อนทำให้การติดตั้งนั้นเป็นไปได้ยากจึ่งได้นำไม้ไผสอดข้างในเพื่อเป็นหลักยึดในการติดตั้งส่วนไม้มันมีการสูญสลายภายในไม่กี่เดือนและแขวงฯน่านที่ 1 ได้ติดตั้งและได้ตามแบบมาตรฐานของกรมทางหลวง  จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ที่พบเห็นว่ามีไม้ไผ่สิดด้านในนั้น เหมือนการคอรัปชั่น สอดไส้เสาหลักเพื่อลดต้นทุนนั้น ไม่จริง

ทั้งนี้โครงการดังกล่าว กรมทางหลวงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมการใช้ยางพาราร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งเป้าหมายรัฐบาลให้กรมใช้ยางพาราน้ำ จำนวน 9,000 ตันต่อปี ซึ่งกรมจะใช้ในรูปแบบพาราสลาลี่ซีล และพาราแอสฟัลท์ จำนวน 5% และมีค่าใช้จ่ายสูง ในปี 2561 ใช้ในการฉาบผิวถนนไปแล้ว 1,000 ตัน อีก 8,000 ตัน หากนำมาใช้แบบเดิมจะมีค่าใช้จ่าย 4,000 ล้านบาท

ทางกรมทางหลวงจึงได้หารือร่วมกับการยาง เปลี่ยนยางพาราน้ำเป็นแผ่น ใช้กับเสาหลักนำทาง ที่กั้นขอบทาง ทางเท้า และหลักกิโลเมตร โดยเสาหลักนำทางใช้ยางประมาณ 15 กิโลเมตรต่อ 1 ต้น งบในการจัดซื้อยางจากงบเหลือจ่ายไม่เกิน 500 ล้านบาท ตั้งเป้าต่อปีใช้ประมาณ 120,000-130,000 ต้นทั่วประเทศ ต้นทุนต่อต้นประมาณ 2,600-2,700 บาท จากเดิมหลักคอนกรีต 800 บาทต่อต้น


 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.