เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"อธิบดีกรมชลประทาน" ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


1 มี.ค. 2565, 09:00



"อธิบดีกรมชลประทาน" ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้




วันที่ 1 มี.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายเอนก ก้านสังวอน ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล นายบุรีรัตน์ วงศ์บุรี เลขานุการกรมชลประทาน นายเฉลิมชัย ตรีนรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 17 ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน ผู้อำนวยการส่วนแผนงาน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโก-ลก ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนราธิวาส หัวหน้าฝ่าย ข้าราชการ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี และติดตามความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหากรณีคันกั้นประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำมูโนะชำรุดเนื่องจากน้ำล้นข้ามคันดินทำให้กัดเซาะบริเวณประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำมูโนะ โดยผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 17 ได้รายงาน สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน การให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงการแก้ไขปัญหากรณีประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำมูโนะชำรุด เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ทำให้มีปริมาณน้ำฝนในลุ่มน้ำโก-ลกสะสมมากกว่า 500 มิลลิเมตร ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโก-ลกสูงขึ้นมากจนทำให้น้ำในคลองมูโนะสูงขึ้นไหลข้ามคันดินเกิดความไม่มั่นคงบริเวณตัวอาคารปากคลองระบายน้ำมูโนะ สำนักงานชลประทานที่ 17 ได้ดำเนินการวางกระสอบทรายและบิ๊กแบ็ค ทำเป็นทำนบซองควบคุมการไหลของน้ำ ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 และดำเนินการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแล้วเสร็จเมื่อช่วงเช้า เวลา 03.00 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ปัจจุบัน สามารถควบคุมการไหลของน้ำให้ไหลผ่านประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำ ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการสำรวจ และเสนอของบประมาณเพื่อซ่อมแซมเสริมความแข็งแรงให้ทันก่อนฤดูฝนปี 2565



จากนั้น อธิบดีกรมชลประทานและคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหากรณีประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำมูโนะชำรุดเนื่องจากน้ำล้นข้ามคันดินทำให้กัดเซาะบริเวณประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำมูโนะ  โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโก-ลก ได้นำกระสอบทรายและบิ๊กแบ็ค เป็นทำนบซองควบคุมการไหลของน้ำและสั่งการให้นำกล่องกระชุหิน (Gabion) บรรจุหินมาวางเพิ่มเติมด้านท้ายเพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันน้ำกัดเซาะคันดินด้านท้าย ปัจจุบัน สามารถควบคุมการไหลของน้ำให้ไหลผ่านประตูระบายน้ำปากคลองระบายน้ำมูโนะได้







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.