เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ย้อนตำนาน 31 ปี ! "เหมืองแร่ฟอสเฟต" เทือกเขาสมอคอน โบราณสถานของ จ.ลพบุรี


11 ก.ย. 2564, 08:54



ย้อนตำนาน 31 ปี ! "เหมืองแร่ฟอสเฟต" เทือกเขาสมอคอน โบราณสถานของ จ.ลพบุรี




วันที่ 10 ก.ย. 64 ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีชื่อว่า "Tanachai Bualuang" ได้โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานเหมืองฯแร่ฟอสเฟต ระเบิดหินอ่อน ที่บ้านโคกทะเล เทือกเขาสมอคอน โพสต์ระบุว่า

ย้อนไป 24 ก.ย. 2533 เวลาหลังเที่ยงวัน ไม่นานเขาฯ (นักข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จ.ลพบุรี นสพ.ธงไทย) ขี่ จยย. มุ่งหน้าเทือกเขาสมอคอน เหตุมาจากการร้องเรียนของชาวบ้านโคกทะเล หมู่ที่ 5 ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ว่าเดือดร้อนจากการระเบิดหินที่เหมืองขุดแร่ฟอสเฟตที่แปลงสัมปทาน จำนวน 125 ไร่ บนไหล่เขาฯหลังหมู่บ้านฯ ประทานบัตร เป็นของ บ.สมอคอนหินอ่อน จก.(สัมปทานการอนุญาตให้ บ.สมอคอนหินอ่อน จก.ขุดแร่ฟอสเฟต ได้รับอนุญาติจากกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ 30 เม.ย. 2526 ลงนามอนุญาตโดย รัฐมนตรีกระทรวงอุตฯ ที่มีนามว่า.พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวรรณ (ยศในขณะนั้น) ระยะเวลาของประทานบัตร 26 ปี สิ้นสุด 30 เม.ย.2552)

ใจความของความเดือดร้อนของชาวบ้านโคกทะเล ในการร้องเรียน มีเศษหินถึงหินก้อนใหญ่หลังการระเบิด จะปลิวตกใส่หลังคาบ้านของชาวบ้านละแวกใกล้เหมืองฯ ที่มีกว่าร้อยหลังคาเรือน รวมุถึงฝุ่นละอองของหินจากการระเบิดปลิวฟุ้งกระจาย กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน โดยในเบื้องต้นชาวบ้านเคยส่งตัวแทนไปเจรจากับโรงงานฯ ถึงความเดือดร้อนที่ชาวบ้านได้รับ.แต่นานวัน/ไร้ผล ความเดือดไม่ได้รับการแก้ไข สื่อมวลชนจึงถูกกำหนด (จากชาวบ้าน)ให้รับหน้าที่แก้ไขในความเดือดร้อนครั้งนี้

...ต๊อก.ต๊อก..เสียงรถมอเตอร์ไซค์ของ "นักข่าวบ้านนอก" (เป็นฉายาที่เพื่อนๆนักข่าวตั้งให้) หลังนักข่าวบ้านนอก พูดคุยกับชาวบ้านในความเดือดร้อนที่ชาวบ้านได้รับก็ได้ขับขี่ จยย.ผ่านประตูรั้วโรงงานฯ ขึ้นเนินเขาฯหลังหมู่บ้านฯไปถึงพื้นที่ 125ไร่ของประทานบัตร ที่เป็นลานโล่งมีปุ่มหิน สลับต้นข่อยหยองและลานหญ้า ที่รถมอไซค์ขับขี่วนได้ทั่วพื้นที่ประทานบัตรเพียงไม่เกิน 5 นาที มีชายรูปร่างสูงใหญ่พร้อมสุนัข(หมา)อัลเซเชียนตัวใหญ่ที่ชายคนดังกล่าวจูงมา โดยเดินมาถามนักข่าวว่าเป็นใครขึ้นมาทำอะไรบนพื้นที่ประทานบัตร ซึ่งถือว่าเป็นที่ส่วนบุคคล นักข่าวเห็นท่าไม่ดีตรงที่จูงหมาตัวใหญ่มาด้วย นักข่าวโดดขึ้นไปยืนบนก้อนหินขนาดใหญ่สูงราว 1 เมตร ใกล้จุดที่ยืนเพื่อความปลอดภัยจากคมเขี้ยว ขณะเจรจากับคนงานที่จูงหมามาด้วยนักข่าวฯ จึงใช้ วิทยุสื่อสาร(ว.)ไปขอความช่วยเหลือจาก จนท.ตำรวจสายตรวจของโรงพักฯที่รับผิดชอบพื้นที่ ต.เขาสมอคอน ซึ่งต้องขอขอบคุณจนท.ตำรวจมาถึงทุกวันนี้ (31.ปี-ยังไม่ลืมในน้ำใจของ.จนท.ตำรวจ) พอตำรวจ-สายตรวจ 2 นาย มารับ นักข่าวฯ คนงานของเหมืองฯถามชื่อ-นามสกุล.ของนักข่าวฯ แว๊บนึงนักข่าวฯคิดว่าจะได้ไม่ต้องเอาล่อ/เอาเถิด จึงส่งนามบัตรของนักข่าวฯให้กับผู้ที่อ้างว่าเป็นคนงานของเหมืองฯ



จากนั้นนักข่าวฯลงจากเหมืองฯ พร้อมตำรวจสายตรวจ ออกจากเหมืองฯ มีชาวบ้านรอหน้าประตูเหมืองฯกว่าสิบคน ด้วยเกรงจะไม่ปลอดภัย เพราะรู้ว่าข้างบนเหมืองฯมีหมาตัวใหญ่หลายตัว แต่ลืมบอกนักข่าว พอชาวบ้านเห็นว่านักข่าวปลอดภัยก็ดีใจ จากนั้นนักข่าว ตำรวจ ชาวบ้าน แยกย้ายกลับบ้าน เวลากว่า 5 โมงเย็น นักข่าวฯถึงบ้านที่ตลาดท่าวุ้ง แต่ต้องตกใจมีกำลังตำรวจในเครื่องแบบของโรงพักท่าวุ้ง รวม 4 นาย รออยู่หน้าบ้าน นำโดยสารวัตรใหญ่ ยศ พ.ต.ท.(ชื่อเรียกผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโรงพักระดับอำเภอในยุคนั้น) พร้อมแจ้งข้อหาให้นักข่าวรับทราบข้อหาบุกรุกในเคหะสถานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยสารวัตรใหญ่ฯบอกกับนักข่าวฯว่า พรุ่งนี้ค่อยไปมอบตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาก็ได้ นักข่าวฯรับทราบ กำลังตำรวจกลับโรงพักฯ นักข่าวฯยกหูโทรปรึกษากับพี่นักข่าวฯที่นับถือใช้เวลาสนทนาไม่ถึง 20นาที สรุปตรงที่นักข่าวฯคนที่ถูกแจ้งข้อหาบุกรุกกลับเข้าพื้นที่ ต.เขาสมอคอน,ต.โคกสลุด,ต.มุจลินท์,ต.บางลี่,ต.หัวสำโรง ตั้งแต่เวลา 2 ทุ่ม ถึงเกือบสว่างเพื่อเจรจาชาวบ้าน-ผู้นำท้องถิ่น นำชาวบ้านรวมตัวคัดค้านการทำเหมือง ระเบิดหินที่เนินเขาหลังบ้านโคกทะเล หมู่ที่5 ต.เขาสมอคอน โดยนัดรวมตัวกันที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอท่าวุ้ง  ในวันรุ่งขึ้น (25 ก.ย.33) เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป นักข่าวฯใช้รถมอเตอร์ไซค์ขับขี่เพียงคนเดียวเพื่อประสานงานในการนัดรวมตัวต่อต้านการระเบิดหินที่เทือกเขาสมอคอนตลอดคืนไม่ได้นอน

8 โมงเช้า (25 ก.ย.2533)เป็นต้นไป นักข่าวฯไปรอชาวบ้านที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอท่าวุ้ง กระวนกระวายใจด้วยในปีนั้น (2533.) โทรศัพท์มือถือยังไม่มี (ทันสมัยที่สุดมีเพียง โมโตฯกระเป๋าหิ้ว) ทำได้เพียงรอ 09.00 น.กลุ่มประชาชน 4-5 ตำบล รวมราวๆกว่า 1,500 คน มารวมตัวป้ายค้านระเบิดหิน ที่เขาสมอคอนทำง่าย ปากกาสีเขียนบนแผ่นกระดาษสีขาวนับสิบแผ่น

นายอำเภอท่าวุ้ง ในยุคกระนั้นขอให้ชาวบ้านที่รวมตัวประท้วงระเบิดหินที่เขาสมอคอนไปรวมตัวในศาลาประชาคม (หอประชุมอำเภอท่าวุ้ง) พร้อมเตรียมเครื่องขยายเสียงไว้ให้ เวลาไล่เลี่ยกันกลุ่มสื่อมวลชน จากตัวจังหวัดลพบุรี ทั้งหนังสือพิมพ์ ที.วี ร่วม 20 คน มาทำข่าว การประท้วงในครั้งนี้ ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วงขอให้ยุติ ระเบิดหิน โดยนักข่าวคนที่ถูกแจ้งว่า บุกรุก เป็นตัวแทนชาวบ้านเจรจากับตัวแทนภาครัฐ คือนายอำเภอท่าวุ้ง เที่ยงวันการเจรจาระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงกับตัวแทนภาครัฐ (นายอำเภอท่าวุ้ง) ยังไม่ยุติ เอาละซี กองทัพต้องเดินด้วยท้อง เพียงที่ยงวันกว่าๆ ข้าวผัดร่วม 2,000.ห่อ (ยังไม่มีกล่องโฟม) พร้อมน้ำดื่ม พร้อมโดยมีรถนำมาส่งผ่านพี่ๆกลุ่มสื่อมวลชน/ลพบุรี พักกินกลางวันราวกว่าบ่ายโมง การหาข้อยุติประชุมต่อ

ราวบ่าย 2 ได้ข้อยุติ โรงงานหรือเหมืองฯที่เขาสมอคอน หยุดการระเบิดหิน 1 เดือน และพร้อมกันไม่เกิน 1 เดือน ทางราชการโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องมีข้อยุติทางกฎหมายเรื่องการทำเหมือง โรงงานทำแร่ฟอสเฟตฯ ระเบิดหินจะทำต่อได้หรือต้องยกเลิกประทานบัตร ภาครัฐที่เจรจารับจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ ร่วมบ่าย 3 โมงกลุ่มชาวบ้านที่ร่วมประท้วงทยอยกลับภูมิลำเนาด้วยความสมหวัง


จากนั้นผู้สื่อข่าวหรือนักข่าวคนเดิมประสานงานกับกรมศิลปากรพอดีกับรองอธิบดีกรมศิลปากร ในยุคนั้นเป็นคนบ้านโคกกะเทียม เอกสารประกอบเพื่อส่งให้กระทรวงยุติธรรมในการที่จะส่งเอกสารไปให้กฤษฎีกาตีความเพื่อยกเลิกประทานบัตร เอกสารสำคัญที่ได้จากกรมศิลปากร คือเอกสารการที่เขาสมอคอนถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตลอดทั้งเทือกเขาฯตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ซึ่งสุดท้ายแล้วเป็นเอกสาร ทีเด็ดที่กฤษฎีกา ตีความว่าการอนุญาตประทานบัตรที่เขาสมอคอนของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นโมฆะด้วยกระทรวงอุตสาหกรรมสำคัญผิดในสาระสำคัญเรื่องการที่เขาสมอคอนถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตลอดทั้งเทือกเขาฯไปแล้ว สุดท้ายหลังจากชาวบ้านรวมตัวประท้วง 1 เดือนกับ 5 วัน กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศยกเลิกประทานบัตร(ระเบิด-หิน)ที่เขาสมอคอน

หลังไมค์/เบื้องหลัง ความสำเร็จของคำสั่งของภาครัฐที่ยกเลิกประทานบัตรที่เขาสมอคอน เมื่อปี พ.ศ.2533 มีนักข่าวฯคนที่ถูกแจ้งข้อหาบุกรุกฯเหมืองฯหลังจากประกาศยกเลิกประทานบัตร ราว 3 เดือน ศาลฯตัดสินว่าผิด (บุกรุกฯ) มีโทษจำ 3 เดือน โทษจำรออาญา 1 ปี ถูกปรับเป็นเงิน 1,500 บาท (ไม่มีเงินเสียค่าปรับ-พี่ๆทนายความที่ศาลฯ จ.ลพบุรี ช่วยกันเรี่ยไรเงินเสียค่าปรับแทน) นักข่าว/ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาฯได้รับการสนับสนุนให้รถ(เก๋ง)พร้อมคนขับ ค่าน้ำมันเป็นเวลา 2 เดือนทุกวันตลอด 24 ชม. จาก ผจก.โรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมฯในพื้นที่ฯแห่งหนึ่ง สนับสนุนความสะดวกในการไปค้นเอกสารที่กรมศิลปากร จากพล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ สส.ลพบุรี และรัฐมนตรีว่าการฯศึกษาธิการในยุคนั้น และกำลังใจจากชาวบ้านในพื้นที่บ้านเขาสมอคอน.เป็นอย่างดีตลอดมา

และอีกกำลังใจ คือนักข่าว(ผู้ต้องหาบกรุกฯ)ได้บนบานกับหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเขาสมอคอน ขณะต่อสู้(ข้อมูล)ยังไม่รู้ผลว่าหากชนะจะบวชแก้บน 15 วัน สุดท้ายชนะ นักข่าวฯบวชพระที่วัดเขาสมอคอน เป็นเวลา 15 วัน พระอาจารย์ฉลวย กัลญาโณ เป็นพระอุปัชฌาย์

ขายหิน-ขายดิน, มีสักวันที่จะต้องหมด ขายธรรมชาติ ร้อยวันพันปีไม่มีวันหมด วิวทิวทัศน์ เขาสมอคอน ณ ปัจจุบัน สวยงามมาก

ลุงวันชัย รายงานจากความทรงจำ

ที่มา : Tanachai Bualuang






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.