เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"พัฒนาฝีมือพะเยา" เปิดฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน สายการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยเทคโนโลยี


24 ส.ค. 2562, 11:56



"พัฒนาฝีมือพะเยา" เปิดฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน สายการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยเทคโนโลยี




วันที่ 24 สิงหาคม 2562 ผูสื่อข่าว ONBNEWS รายงานว่า สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา ร่วมกับร้านองศางานไม้ดีไซน์ ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน สายการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยเทคโนโลยี 30 ชั่วโมง จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 20 คน ต่อเนื่องกัน รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 15-19 สิงหาคม 2562 ให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมในครัวเรือนบ้านร้อง หมู่ 6 และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอภูกามยาว ณ หอประชุม ที่ว่าการอำเภอภูกามยาว อ.ภูกามยาว และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 21-27 สิงหาคม 2562 ให้กับแรงงานผู้ต้องขังคุณภาพที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างเครื่องเรือนไม้ ระดับ 1 หรือช่างไม้ก่อสร้าง ระดับ 1 ณ เรือนจำจังหวัดพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา

 

 

 



นายเสริมสกุล พจนการุณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา เปิดเผยว่า การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานทั้ง 2 รุ่นนี้ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา ร่วมกับนายถาวร ยอดแก้ว ร้านองศางานไม้ดีไซน์ ซึ่งเป็นสถานประกอบกิจการด้านการออกแบบงานไม้ การแกะสลักงานไม้-โลหะ งานเฟอร์นิเจอร์ไม้-โลหะ และงานตกแต่งภายใน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่า หรือเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนรูปแบบใหม่ที่ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เช่น การทำลวดลายบนแจกันไม้มะม่วงด้วยประกายไฟจากหม้อแปลงไฟฟ้า การแกะสลักงานไม้ เช่นด้ามมีด กล่องไม่ใส่นามบัตร ป้ายไม้ร้านค้า ด้วยเครื่อง CNC รวมถึง การสร้างทักษะการคิดนอกกรอบหรือจินตนาการให้กับผู้รับการฝึกในการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนรูปแบบใหม่ๆ ที่แตกต่าง เป็นต้น

 

 

 


ทั้งนี้ ภายหลังการฝึก ร้านองศาดีไซน์จะนำงานไม้ที่มีออร์เดอร์รูปแบบต่างๆ มาจ้างวิสาหกิจชุมชน และแรงงานผู้ต้องขังคุณภาพทำเป็นรายชิ้น โดยรับซื้อทั้งหมด เนื่องจากทางร้านมีออร์เดอร์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ แต่ไม่สามารถผลิตได้ทัน จึงจำเป็นต้องขยายฐานการผลิต ด้วยการสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลิตภัณฑ์ป้อนตลาดให้ทันตามออร์เดอร์ ผลลัพธ์ที่ได้จึงเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ทางร้านสามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้า ได้รับรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าได้ตามออร์เดอร์ ขณะที่ผู้รับจ้างในชุมชน หรือในเรือนจำจะได้รับรายได้เพิ่มขึ้น จากการรับจ้างผลิตสินค้า เกิดการสร้างงานในชุมชน เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.