เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มหาดไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยแนวคิดชีวิตวิถีใหม่


19 ก.ค. 2564, 20:08



มหาดไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยแนวคิดชีวิตวิถีใหม่




การแก้ไขปัญหายาเสพติดถือเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังทั้งระบบ ด้วยการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด การป้องกันยาเสพติด การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดผ่านกระบวนการทางด้านสาธารณสุข การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ และให้ความสำคัญกับกระบวนการบริหารจัดการอย่างบูรณาการจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความสงบและความปลอดภัยตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน และให้ "สังคมไทยปลอดภัยจากยาเสพติด"

กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งในปี 2564 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการและเน้นย้ำการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศอย่างจริงจังและเข้มงวด ควบคู่กับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ยุทธการพิชิตภัยยาเสพติด ด้วยแนวคิดชีวิตวิถีใหม่ โดยมีศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย (ศอ.ปส.มท.) นำโดยนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ซึ่งในระดับพื้นที่มีศูนย์อำนวยการและศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขับเคลื่อนการดำเนินงานใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับ
ท้องถิ่น

การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญกับการบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ ทั้งในด้าน ผู้ผลิตและผู้ค้า (Supply Side) เน้นการรับรู้สภาพปัญหาจริงในระดับพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของ ยาเสพติด โดยให้ความสำคัญกับคณะกรรมการหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี เป็นการใช้การข่าว การจัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด ร่วมกับการปราบปราม และด้านผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด (Demand Side) ให้ความสำคัญไม่ให้เกิดผู้เสพรายใหม่โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนวัยเสี่ยงสูง (15 - 24 ปี) โดยใช้พลังครอบครัว หรือ กิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมการบำบัดรักษาด้วยระบบสมัครใจ เพื่อลดผู้เสพซ้ำเน้นการคืนคนดีสู่สังคม โดยติดตาม ดูแล ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาในทุกระบบ โดยให้ความสำคัญชุมชนบำบัด เพื่อบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ให้กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกผ่านความร่วมมือและเปิดโอกาสจากคนในชุมชนด้วยกัน









Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.