เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



11 กรกฎาคม วันคล้ายวันสวรรคต "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"


11 ก.ค. 2564, 10:32



11 กรกฎาคม วันคล้ายวันสวรรคต "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"




สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3  เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 และพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ปราสาททอง

พระราชสมภพ

พระบรมราชโองการสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกัลยาณี อัครราชเทวี พระราชมารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. ๒๑๗๕ และทรงมีพระนมอยู่พระองค์หนึ่งคือ เจ้าแม่วัดดุสิต ทรงเป็นพระอนุชาใน สมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาอีกได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ  พระไตรภูวนาทิตยวงศ์  พระองค์ทอง และ  พระอินทราชา

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระชนนีองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระองค์มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้านรินทร์" แต่เมื่อขึ้นพระอู่ พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "พระนารายณ์" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์  พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหารย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ  เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ ๕ พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย  เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ ๙ พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี   สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร       พระราชานุสาวรีย์ องค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนามเต็มตามหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา "สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดีศรีสรรเพชญ บรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชราเมศวร ธรรมธราธิบดี ศรีสฤฎิรักษสังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดีดินทร หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีวิบุลยคุณอกนิฐ จิตรรุจีตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาดิเทพบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์องค์เอกาทศรสรุทร์ วิสุทธยโศดม บรมอาชวาธยาศรัย สมุทัยตโรมนต์ อนนตคุณวิบุลยสุนทรบวรธรรมมิกราชเดโชไชย ไตรโลกนาถบดินทร์ วรินทราธิราชชาติพิชิต ทิศพลญาณสมันตมหันตวิปผาราฤทธิวิไชย ไอศวรรยาธิบัติขัตติยวงศ์ องค์ปรมาธิบดีตรีภูวนาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธ มกุฎรัตนโมฬี ศรีปทุมสุริยวงศ์ องค์สรรเพชญ์พุทธางกูร บรมบพิตร"



ครองราชย์สมบัติ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๐๑๘ ปีวอก (ตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า 'สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ ๒๕ พรรษาหลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ ๑๐ ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๐๙ และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา ๓๒ ปี มีพระชนมายุ ๕๖ พรรษาภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออก โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตจากฝรั่งเศสเข้าเฝ้า[แก้] พระราชโอรส-ธิดา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชโอรส และธิดา ได้แก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพในพระกษัตรี ซึ่งหลังจากพระองค์ทรงสวรรคตแล้วพระราชธิดาและพระราชนัดดาของพระองค์(เจ้าฟ้าตรัสน้อย)ได้ย้ายมาอยู่กับญาติทางฝ่ายราชมารดา (พระกษัตรี) ที่วัดพุทไธศวรรค์และต่อมาได้ย้ายเข้ามาอยู่ที บ้านละมุในตำบลเสนาอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสมัยราชวงศ์จักรีในช่วง รัชกาลที่๓ - ๕ ถึงในปัจจุบัน ฝ่ายยาทของในกรมหลวงโยธาเทพและพระกษัตรีคือพระยาคเชนทร์ (ทับ สุดลาภา)ในสมัยรัชกาลที่ ๓เป็นบิดาขุนพิทักษ์อำแดงเขตต์และขุนพิทักษ์อำแดงเขตต์(แสง สุดลาภา )ในสมัยรัชกาลที่๕ได้สร้างวัดอุทัยในตำบลเสนา อำเภออุทัยขึ้นและเป็นวัดประจำสกุลสุดลาภาถึงในสมัยปัจจุบันนี้  หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ เป็นโอรสลับที่ประสูติในพระสนมกุสาวดี  นอกจากนี้ยังมีพระโอรสบุญธรรม คือ พระปีย์ หรือบางแห่งเรียก พระปิยะ

พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี

การต่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมหุนายกขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ถึง ๔ ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย

พระราชปณิธาน
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะให้เราเข้ารีตดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ"จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาทพระเจ้ากรุงสยามได้แปลคำชักชวนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่น และสมเด็จพระนารายณ์ ทรงพระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อๆ กันมาถึง 2,229 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  วรรณกรรม 
เข้าไปดูบทความเฉพาะของเรื่องนี้ วรรณกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๓ เป็นต้น  ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น

งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2542 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี กับนาย เชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีในขณะนั้นเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงสร้างเมืองลพบุรีให้เจริญรุ่งเรือง อีกประการหนึ่งคือต้องการพัฒนาจังหวัดลพบุรีให้เป็นเมืองท่องเที่ยว การจัดงานครั้งแรก ตั้งชื่องานว่า "นารายณ์รำลึก" ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ"งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์" จัดงานครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗-๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของลพบุรีถูกถ่ายทอดการจัดงานโดยมีการตั้งคณะกรรมการกว่า ๒๐ คณะ รูปแบบของงานมีทั้งภาคกลางวันและกลางคืนมีการจำลองเหตุการณ์  ในครั้งประวัติศาสตร์ มีขบวนแห่ของชาติต่างๆที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและคำประพันธ์ต่างๆ มีร้านจำหน่ายและสาธิตสินค้า ตลอดจนขนมหวานในสมัยนั้น มีการจุดประทีปโคมไฟให้เหมือนราตรีแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในอดีตมีการประกวดการแต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้ง ส่งเสริมให้ชาวลพบุรีแต่งกายไทยทั้งเมืองซึ่งมีผู้ให้ความสนใจและร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากมาย






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.