เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ผู้ว่าฯตาก ประกาศ! แม่สอดห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว 2 ทุ่มถึงตี 4 มีผลวันนี้


8 ก.ค. 2564, 17:01



ผู้ว่าฯตาก ประกาศ! แม่สอดห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว 2 ทุ่มถึงตี 4 มีผลวันนี้




เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตาก ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดตาก ออกคำสั่งที่ ๒๒๖๗/๒๕๖๔เรื่องมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จังหวัดตาก เฉพาะในพื้นที่อำเภอแม่สอดเพิ่มเติม โดยระบุว่า 

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑๒) ตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และจังหวัดตากได้มีค้าสั่งฯ ที่ ๒๑๙๘/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ กําหนดมาตรการป้องกันควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๔ (covid-๑๙) ในพื้นที่จังหวัดตาก นั้น

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๓๙ (covid-ear) ในอําเภอ แม่สอด พบผู้ติดเชื้อคนไทยและคนต่างด้าวเป็นจํานวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อป้องกันควบคุม การแพร่ระบาดของโรคมิให้ขยายเป็นวงกว้างจําเป็นต้องกําหนดมาตรการป้องกันโรคในพื้นที่ดังกล่าวให้มีความ เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๓๔ (๑) (๖) มาตรา ๕ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับข้อ ๗ (๑) ของข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ผู้ว่าราชการจังหวัดตากโดยความเห็นขอบ ของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตาก ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงกําหนดมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๓๙ (covid-๑๙) จังหวัดตาก เฉพาะในพื้นที่ อําเภอแม่สอด เพิ่มเติมดังนี้



๑. ยกเลิกข้อความในข้อ ๔.๓ วรรคสอง ของคําสั่งจังหวัดตาก ที่ ๒๓๕๙/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และให้ใช้ข้อความดังนี้
สําหรับอําเภอแม่สอด ห้ามจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริง และการจัดพิธีการตามประเพณีนิยม ยกเว้นงานบวชให้จัดได้เฉพาะพิธีสงฆ์ภายในพระอุโบสถเท่านั้น และงานศพ ทั้งนี้ ต้องไม่ให้มีผู้ร่วมงานมากกว่า ๕๐ คน หรือมีจํานวนผู้ร่วมงานมากกว่า ๑ คน ต่อ ๔ ตารางเมตร และให้งดการละเล่น การแสดงมหรสพ รถแห่ และห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในงานดังกล่าว
๒. ยกเล็กข้อความในข้อ ๖ (๖.๘) วรรคสอง ของคําสั่งจังหวัดตาก ที่ ๒๑๙๘/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ข้อความดังนี้
สําหรับอําเภอแม่สอด ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดําเนินการและสามารถบริโภค ในร้านได้ไม่เกินเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา แต่ภายหลังเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา ต้องเป็นลักษณะของการให้บริการโดยนํากลับไป บริโภาคที่อื่นได้เท่านั้น และห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการ คัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้เข้าใช้บริการ และการเว้นระยะห่างนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย ๒ เมตร และเว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะอย่างน้อย ๒ เมตร หรือให้มีฉากกั้นระหว่างโต๊ะสูงไม่น้อยกว่า ด.๕ เมตร
๓. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดําเนินการได้ตามปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก ทิ้งดให้บริการ ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีมาตรการคัดกรองตามที่ทางราชการกําหนด
๔. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต เปิดดําเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ แต่ไม่เกิน เวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา สําหรับร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดําเนินการได้ ในเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา
๕. ปิดสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร์โรศ ดังนี้
(๕.๑) ตลาดถนนคนเดิน
(๕.๒) ตลาดนัด
๖. ห้ามแรงงานต่างด้าวและบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนออกจากเคหสถานระหว่างเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ยกเว้นแรงงานต่างด้าวหรือบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนซึ่งจ้าเป็น ต้องทํางานในห้วงเวลาดังกล่าวโดยจะต้องขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากนายอําเภอแม่สอด
๗. ห้ามแรงงานต่างด้าวและบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนเคลื่อนย้ายหรือห้ามเคลื่อนย้าย แรงงานต่างด้าวและบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนข้ามตําบล เว้นแต่มีเหตุจําเป็นอย่างยิ่งยวดและได้รับอนุญาต จากนายอําเภอแม่สอด
๘. ขอความร่วมมือประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางระหว่างเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา เว้นแต่มีความจําเป็น ดังนี้
(๘.๓) การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่างๆ ของทางราชการ หรือเจ้าหน้าที่ตํารวจ ทหาร หรือพลเรือนซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมายอื่น
(๘.๒) การสาธารณสุข ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้มีความจําเป็นต้องพบแพทย์และผู้ดูแลบุคคลดังกล่าว หรือแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงาน
(๘.๓) การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร น้ํามันเชื้อเพลิง ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ หรือสินค้าเพื่อการนําเข้าหรือส่งออก
(๘.๔) การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งหรือขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศ ของทางราชการหรือของตนเองเพื่อเฝ้าระวังหรือกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือผู้เดินทางมาจาก หรือไปยังท่าอากาศยานหรือสถานีขนส่งตามที่ทางราชการอนุญาตและให้เปิดทําการได้
(๘.๕) การบริการหรือการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน ได้แก่ คนไร้ที่พึ่ง ผู้บริการเฉพาะ น้ํามันเชื้อเพลิงในสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้บริการขนส่งสินค้าหรืออาหารตามสั่ง ผู้บริการตรวจสอบหรือซ่อมบํารุงไฟฟ้า ประปา ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ผู้บริการจัดเก็บและจำกัดขยะมูลฝอย ผู้บริการซ่อมแซม และปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ในการสื่อสานโทรคมนาคม ผู้บริการผ่านธนาคาร ตลาดทุน ประกันภัย การกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ ผู้จําเป็นต้องด้าเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือจําเป็นต้องติดต่อราชการ กับก้านัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือพนักงานสอบสวน
(๘.๖) การประกอบอาชีพซึ่งจําเป็นต้องกระทําภายในช่วงเวลาพิเศษ ได้แก่ ผู้เข้าออกเวรยาม กะหรือการทํางานตามผลัดเวลาที่กําหนดไว้ตามปกติของทางราชการ เอกชน โรงงาน หรือการดูแลรักษา ความปลอดภัย ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ประมง การกรีดยาง การตรวจรักษาสัตว์


๙. ขอความร่วมมือสถานประกอบการดําเนินการทํา Bubble and Seal หรือจัดให้มีการตรวจหา สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด - ๑๙ (RT - PCR) ให้กับแรงงานในสถานประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของแรงงานทั้งหมด โดยให้เจ้าของผู้ประกอบการสนับสนุนค่าใช้จ่าย
๑๐. ขอความร่วมมือคลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน คลินิกพยาบาลและผดุงครรภ์ และร้านขายยา จัดส่งข้อมูลผู้ป่วยที่มีอาการของโรคทางเดินหายใจให้กับโรงพยาบาลแม่สอดเป็นรายวัน โดยให้โรงพยาบาลแม่สอด เป็นผู้ประเมินและพิจารณาตรวจคัดกรองเชิงรุกต่อไป
๑๑. ให้เจ้าของผู้ประกอบการโรงแรมและสถานที่พัก รายงานข้อมูลผู้พักอาศัยต่อฝ่ายปกครอง อําเภอแม่สอดทันที่ที่มีผู้เข้ามาพักอาศัย โดยรายงานไปที่นางชญาภา สุบรรณพงษ์ ตําแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง ชํานาญการ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๖๓-๙๐๒๗๙๕๗ และให้ฝ่ายปกครองอําเภอแม่สอดตรวจสอบเพื่อดําเนินการ ตามกฎหมายกับผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายต่อไป
๑๒. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดตาก ดําเนินการสอดส่องดูแลและตรวจสอบบ้านเช่า หอพักในเขตพื้นที่รับผิดชอบเป็นระยะว่าสถานที่ดังกล่าว เข้าข่ายให้ที่พักอาศัยแก่ผู้ลักลอบข้ามแดนหรือไม่และหากมีให้ดาเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและรายงาน มายังจังหวัดตากต่อไป

ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และอาจมี ความผิดตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เป็นข้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง


 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.