เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ศธ.โต้ปม "ยิ่งลักษณ์" จี้ใช้แท็ปแล็ตเรียนออนไลน์ ชี้ผลวิจัยทำเด็กเครียด-เลิกเรียน


6 ก.ค. 2564, 13:45



ศธ.โต้ปม "ยิ่งลักษณ์" จี้ใช้แท็ปแล็ตเรียนออนไลน์ ชี้ผลวิจัยทำเด็กเครียด-เลิกเรียน




เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายางนจาก  นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความ เรียกร้องให้รัฐบาลนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ ในการเรียนออนไลน์อย่างจริงจัง เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และลงทุนให้ทุกโรงเรียนมีอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งครูและนักเรียน นั้น ศธ.ได้จัดซื้อแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 8 แสนเครื่อง ในปี 2555 และปี 2556 และจัดซื้อครั้งที่ 2 สำหรับนักเรียน ป.1 และ ม.1 จำนวน 1 แสน 6 หมื่นเครื่อง

ต่อมาปี 2557 ได้มีการประเมินผลการใช้แท็บเล็ต ในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน สรุปดังนี้ แท็บเล็ตมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ตอบสนองการเรียนรู้ของที่แตกต่าง และได้รับความพอใจจากครูและนักเรียนอย่างสูง และเห็นว่า ควรดำเนินโครงการแท็บเล็ตพีซีต่อเนื่อง

 



เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายางนจาก  นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความ เรียกร้องให้รัฐบาลนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ ในการเรียนออนไลน์อย่างจริงจัง เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และลงทุนให้ทุกโรงเรียนมีอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งครูและนักเรียน นั้น ศธ.ได้จัดซื้อแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 8 แสนเครื่อง ในปี 2555 และปี 2556 และจัดซื้อครั้งที่ 2 สำหรับนักเรียน ป.1 และ ม.1 จำนวน 1 แสน 6 หมื่นเครื่อง

ต่อมาปี 2557 ได้มีการประเมินผลการใช้แท็บเล็ต ในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน สรุปดังนี้ แท็บเล็ตมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ตอบสนองการเรียนรู้ของที่แตกต่าง และได้รับความพอใจจากครูและนักเรียนอย่างสูง และเห็นว่า ควรดำเนินโครงการแท็บเล็ตพีซีต่อเนื่อง

 


ปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาในการเรียนการสอนออนไลน์นั้น ซึ่งเป็นภาระกับผู้ปกครอง และเท่าที่ดู หลายรายอยากกลับไปเรียนในโรงเรียนั้น จากงานวิจัยผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ครอบครัวในประเทศเอเชียและยุโรป ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่า 40 % ของผู้ปกครองรู้สึกเครียดจากการที่ลูกต้องเรียนออนไลน์ 25 % ให้ข้อมูลว่า บ้านมีอุปกรณ์หรือสภาพไม่พร้อม ขณะที่ผลสำรวจของ Washington Post พบว่าเด็กเครียด ก้าวร้าว เบื่ออาหาร ปวดหลัง มีปัญหาเจ็บตาหรือตาอ่อนล้า ขณะที่งานวิจัยของจีน

สำรวจนักเรียนในมณฑลหูเป่ยที่อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยเก็บข้อมูลนักเรียนเกรด 2 ถึง 6 (ป.2-ป.6) จำนวน 2,330 คน ระหว่าง 28 กุมภาพันธ์-5 มีนาคม2563 พบว่านักเรียน 40% เครียดและวิตกกังวล สอดคล้องกับไทยที่ล่าสุด พบข้อมูลนักเรียนและนักศึกษาจำนวนมากเครียดจากการเรียนออนไลน์ ไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เกิดความทุกข์ และสุดท้ายก็นำไปสู่โศกนาฏกรรม






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.