เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สาวไทยร่ำไห้ ทำงานที่ดูไบ โดนยึดพาสปอร์ต กลับไทยไม่ได้ แถมโดนเรียกครึ่งแสนค่าไถ่คืน


2 ก.ค. 2564, 16:08



สาวไทยร่ำไห้ ทำงานที่ดูไบ โดนยึดพาสปอร์ต กลับไทยไม่ได้ แถมโดนเรียกครึ่งแสนค่าไถ่คืน




เมื่อไม่นานมานี้โซเชียลแห่แชร์คลิปของสาวไทยรายหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตที่ประเทศดูไบ กำลังขอความช่วยเหลือหลังมาทำงาน แต่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง โดยเธอเล่าว่า มาทำงานที่ดูไบ เป็นช่างทำเล็บ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 มีค่าจ้าง 2,500 เดอร์แฮม หรือประมาณ 20,000 บาท แต่พอมาถึงที่พักต้องนอนโซฟา นอนพื้น  จาก wifi ที่บอกฟรี ก็โดนหักเงิน  เงินเดือนก็โดนลดเหลือ 80% อาหารที่บอกฟรี ก็ให้แค่ข้าวสาร ที่เหลือจ่ายเอง 

ค่าน้ำค่าไฟก็หัก ตนพักอยู่กับพนง.คนอื่นถึง 10 คนในห้องเดียว มี 1 ห้องน้ำต้องแย่งกันใช้ ไม่เคยลำบากขนาดนี้ ทำเหมือนตนไม่ใช่คน ไม่ให้ออกไปไหน ตนอยากกลับบ้านแต่กลับไม่ได้ เพราะนายจ้างยึดไปตั้งแต่วันแรก โดยนายจ้างบอกว่าจะเคลียร์ให้ แต่ต้องให้เงินคืน 6 พันกว่าเดอร์แฮม ประมาณ 50,000 กว่าบาท 

 



เขาบอกว่าจะเป็นค่าดำเนินการยกเลิกวีซ่าทำงาน และจะคืนพาสปอร์ตให้ ซึ่งตนไม่จ่าย เพราะถูกเลิกสัญญาจ้างและไม่ได้หนีออกมา อีกทั้งเงินจำนวนนี้มันมากเกินไป ทั้งที่ค่าดำเนินการวีซ่าอยู่ที่ 265 เดอร์แฮมเท่านั้น นอกจากนี้ เธอยังเตือนว่า คนไทยที่คิดจะมาอย่ามา เพราะร้านที่มาหลอกขายแรงงานไทย 


อย่างไรก็ตาม เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานเพิ่มเติมว่า ติดต่อขอสัมภาษณ์กับทางนายจ้างซึ่งเป็นคนไทย ก็ไม่ได้รับการชี้แจงแต่อย่างใด โดยนายจ้างระบุแต่เพียงว่าได้ยึดพาสปอร์ตของคุณมนัสนันท์ ไว้จริงเท่านั้น เมื่อทีมข่าวถามว่าต้องทำอย่างไรถึงจะคืนพาสสปอร์ตให้กับลูกจ้างรายนี้ กลับไม่ได้รับคำตอบ ทางเรื่องเล่าเช้านี้ จึงพยายามประสานสถานกงสุลใหญ่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อช่วยเหลือนัดไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่าย เพื่อหาทางออก 

 


โดยทางถานกงสุลใหญ่ดูไบ ระบุว่า กรณีนายจ้างและลูกจ้างไม่สามารถตกลงไกล่เกลี่ยกันได้ แนะนำให้ยื่นร้องเรียนกับกระทรวงแรงงานรัฐฟูไจราห์ จนท. จะยึดถือตามสัญญาจ้างที่ตกลงกันและหากลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถไปยื่นเรื่องร้องเรียนนายจ้างตามกฎหมายแรงงานของยูเออีได้


ทางด้าน ทนายรณรงค์ แก้วเพชร ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ระบุว่า เรื่องของกฎหมายของแต่ละประเทศ แต่หากเป็นกฎหมายไทยก็จะเข้าข่ายในกรณีของการกรรโชกทรัพย์ โดยการนำทรัพย์สินมาเป็นข้อต่อรองให้เราจ่ายเงิน ซึ่งก็จะมีความผิดตามกฎหมายเรื่องของการข่มขู่ แต่อย่างไรก็ตามการไปทำงานโดยผิดกฎหมายก็ดำเนินการยุ่งยากกว่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ทนายรณรงค์ ก็ยังได้แนะนำว่าหากต้องการไปทำงานที่ต่างประเทศ แนะนำให้ติดต่อผ่านสำนักงานจัดหางาน เพราะอย่างน้อยก็จะถูกส่งไปทำงานยังบริษัทที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว และไปอย่างถูกกฎหมายอีกด้วย

ที่มา Manussanun Kieth / ch3plus






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.