เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช จัดหน่วยตรวจเด็กโรคหัวใจ ตามโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด


15 ส.ค. 2562, 14:27



รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช จัดหน่วยตรวจเด็กโรคหัวใจ ตามโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด




วันที่ 15 ส.ค. 62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่ห้องประชุมยุคลฑิฆัมพร ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช และนายแพทย์ทรงเกียรติ เล็กตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ร่วมต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และคณะ ออกหน่วยตรวจเด็กโรคหัวใจ ตามโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ด้วยการผ่าตัด และใช้สายสวนหัวใจนอกเวลาราชการ โดยมีพ่อแม่ ผู้ปกครอง นำเด็กโรคหัวใจ ประมาณ 100 คน เข้ารับการตรวจรักษา

สำหรับการออกหน่วยตรวจเด็กโรคหัวใจ ตามโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ด้วยการผ่าตัดและใช้สายสวนหัวใจ ซึ่งโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ด้วยการผ่าตัด และใช้สายสวนหัวใจ ขึ้นเนื่องจากในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยมีเด็กเกิดเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดกว่า 7,000 -8,000 คน ( ร้อยละ 0.8 – 1.0 ของการเกิดมีชีวิต มีโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด ) และโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่สามารถป้องกันได้ เช่น เกิดจากมารดาที่มีเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ในช่วง 3-4 เดือนแรก อีกร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จำนวนเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคหัวใจร้อยละ 50 หรือกว่า 3,500 คน ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด หรือ ใช้สายสวนหัวใจ ร้อยละ 20 ต้องได้รับการผ่าตัดภายในอายุ 1 ปี หรือบางรายภายใน 1 เดือน มิฉะนั้นจะเสียชีวิตหรือผ่าตัดไม่ได้ ปัจจุบันสถาบันที่ผ่าตัดเด็กโรคหัวใจมีจำนวนจำกัด ได้แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งต้องทำการผ่าตัดทั้งผู้ใหญ่และเด็ก และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขรวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน ทั้งประเทศสามารถผ่าตัดเด็กได้ปีละไม่เกิน 2,500 คน เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงกับเด็กเล็กและเด็กเกิดใหม่ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ทำให้ต้องรอคอยการผ่าตัดเป็นเวลานาน และมีส่วนหนึ่งได้เสียชีวิตไป ส่วนที่รอคอยก็ยิ่งมีจำนวนสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของเด็กผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ ร้อยละ 20 เป็นผู้พิการซ้ำซ้อน จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเป็นพิเศษ

นอกจากนี้ยังมีเด็กโรคหัวใจในชนบทอีกมากที่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษา บางรายยังไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลและสถาบันต่างๆ ที่สามารถผ่าตัดเด็กโรคหัวใจได้ ดำเนินโครงการผ่าตัดเด็กโรคหัวใจนอกเวลาราชการขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 

 



 







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.