เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สุดยอดงานวิจัย ! ค้นพบ "ยาต้านโควิด-19" ชนิดใหม่ ปราบทุกสายพันธุ์ได้ถึง 99.9%


20 พ.ค. 2564, 08:46



สุดยอดงานวิจัย ! ค้นพบ "ยาต้านโควิด-19" ชนิดใหม่ ปราบทุกสายพันธุ์ได้ถึง 99.9%




วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสุขภาพเมนซีส์แห่งรัฐควีนส์แลนด์ (MHIQ) มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ร่วมมือกับสถาบันวิจัย ซิตี้ ออฟ โฮป ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนากระบวนการบำบัดที่อาศัยหลักการทางด้านสารพันธุกรรมชนิด RNA ซึ่งมีเป้าหมายทำลายเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ด้วยการค้นหาและทำลายสารพันธุกรรมดังกล่าวของไวรัส ส่งผลให้ไวรัสสูญเสียความสามารถในการเพิ่มจำนวน โดยที่สามารถลดปริมาณไวรัสในปอดของสัตว์ทดลองได้ถึงร้อยละ 99.9

ศาสตราจารย์ ไนเจล แม็กมิลแลน หนึ่งในผู้นำคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ กล่าวว่า ยาดังกล่าวมีเป้าหมายแบบจำเพาะเจาะจงเฉพาะกับไวรัสก่อโรคโควิด-19 เท่านั้น จึงไม่มีผลต่อเซลล์ชนิดอื่นๆ ในร่างกาย เนื่องจากทางผู้พัฒนาออกแบบชุดคำสั่งที่จำเพาะอย่างยิ่งด้วยหลักการทางพันธุกรรม ให้ยาค้นหาและทำลายเซลล์หรืออนุภาคไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น



โดยยาดังกล่าวอาศัยหลักการการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า RNA interference (RNAi) โดยนักวิจัยออสเตรเลียนำมาพัฒนาต่อเป็นยีนส์ที่มีคุณลักษณะพิเศษกลายเป็นเทคโนโลยีหยุดยั้งลักษณะทางพันธุกรรมเป้าหมาย (gene-silencing RNA technology) เรียกว่า small-interfering RNA (siRNA) ตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1990 ซึ่ง siRNA ได้ถูกออกแบบมาให้เชื่อมต่อเข้ากับ RNA ของไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้โดยตรงอย่างพอดิบพอดี โดยเมื่อเชื่อมต่อกันแล้วจะกลายเป็นยีนส์ที่ส่งสัญญาณให้เซลล์ร่างกายทำลายสารพันธุกรรมดังกล่าวทันที ส่งผลให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้


จากการทดสอบระยะที่หนึ่งซึ่งทดสอบในสัตว์ทดลอง (clinical trial phase I) ให้ผลทดสอบออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับหนูทดลองที่ติดเชื้อได้สูงอย่างน่าประทับใจ คาดว่า การทดลองระยะต่อไปจะราบรื่นและนำมาใช้จริงได้ภายในไม่เกิน 2 ปีข้างหน้า

ศาสตราจารย์ เควิน มอร์ริส ผู้นำร่วมในคณะนักวิจัยจากสถาบัน ซิตี้ ออฟ โฮป กล่าวว่า เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ กระบวนการรักษาที่เราคิดค้นขึ้นมานี้สามารถใช้ได้ผลกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์ส 1 และ 2 (โควิด-19) รวมถึงชนิดใหม่ๆ ที่อาจเกิดมาจากการกลายพันธุ์ในอนาคตได้ เนื่องจากเป้าหมายหลักของยาเป็นพื้นที่ยีนส์ถาวรในจีโนมของไวรัส






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.