เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ทาสแมวทำใจยอมไม่ได้ หนุ่มโพสต์คลิป จับแมวจรให้งูตัวเองสวาปาม ก่อนออกมาแถรอบสอง ฟังไม่ขึ้น ก่อดราม่าครึกโครมทั้งโซเชียลฯ


12 ส.ค. 2562, 12:03



ทาสแมวทำใจยอมไม่ได้ หนุ่มโพสต์คลิป จับแมวจรให้งูตัวเองสวาปาม ก่อนออกมาแถรอบสอง ฟังไม่ขึ้น ก่อดราม่าครึกโครมทั้งโซเชียลฯ




เกิดเป็นเรื่องราวที่สร้างความสะเทือนใจให้กับเหล่าบรรดาทาสแมว อย่างที่สุด ต่อประเด็นดราม่าเอาแมวให้งูกิน ที่กำลังครึกโครมสนั่นโซเชียลฯ อยู่ในขณะนี้ โดยที่เพจ WATCHDOG THAILAND ล่าสุดได้เข้ามาติดตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังได้มีลูกเพจร้องเรียน พบโพสต์จากผู้ใช้งานเฟซบุ๊กรายหนึ่ง ที่ออกมาโพสต์เล่าถึงความโหดร้ายของตัวเอง ที่ได้จับแมวจรจัดมาให้งูที่เขาเลี้ยงไว้สวาปาม แต่เมื่อเจอกระแสดราม่า จึงออกมาโพสต์แก้ตัวในครั้งที่สอง บอกแมวที่นำมาให้งูกินเป็นแมวที่ตนเลี้ยงเอง แต่เกิดอุบัติเหตุถูกรถเฉี่ยวชน จากไปพร้อมกันถึง 9 ชีวิต จึงใช้วิธีนี้เพื่อไม่ให้เสียของ แม้จะลบโพสต์ดังกล่าวทิ้งไป แต่ก็มีผู้ที่สามารถเก็บหลักฐานมาได้ ทั้งภาพ และคลิปวีดีโอขณะงูได้สวาปามลูกแมวน้อย ที่เจ้าของนำมาประเคนให้ถึงปาก

 

ทั้งนี้  WATCHDOG THAILAND ล่าสุด ได้เผยความคืบหน้าของเรื่องนี้ ระบุว่า สามารถติดตามตัวผู้โพสต์ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมนัดหมายให้ไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ สภ.บางเลน นครปฐม เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำผิดหรือไม่ หากพิสูจน์ได้ว่าโพสต์ครั้งแรกเป็นเรื่องจริง ได้เจอทั้ง พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และพรบ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ 



กรณีโพสต์ครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองแตกต่างกัน เดี๋ยวบอกเป็นแมวจรจึงจับมาให้งูกิน เดี๋ยวบอกเป็นแมวของตนเองที่เลี้ยงไว้แล้วถูกรถชนตาย
 

รอผลการสอบสวนข้อเท็จจริง ส่วนการตรวจสอบใบอนุญาตครอบครองและใบซื้อขายหรือใบเคลื่อนย้าย ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯที่จะต้องตรวจสอบกันต่อไป เพราะในเฟซบุ๊กที่มีการลบไปแล้ว มีทั้งงู และเต่าหลากหลายสายพันธุ์

งูเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชี พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า การเลี้ยงงูจึงมีสองแบบ คือเลี้ยงไว้ดูเล่นซึ่งควรจะมีเพียงไม่กี่ตัว กับเลี้ยง และสามารถทำเป็นการค้าได้ และขออนุญาตเพาะพันธุ์ได้

ขั้นตอนในการขออนุญาตจึงมีมากมาย ตั้งแต่
1. ต้องเป็นงูจากฟาร์มที่มีใบครอบครองอย่างถูกต้อง และเมื่อมีการซื้อขายกัน ฟาร์ม หรือ แหล่งซื้อเหล่านั้น จะต้องออกใบการซื้อขายหรือใบเคลื่อนย้ายให้เพื่อที่ผู้ซื้อจะได้นำไปขอใบอนุญาตครอบครองจากกรมอุทยานฯ

ดังนั้น งูที่ได้จากป่าหรือจากฟาร์มที่ไม่สามารถออกใบซื้อขาย หรือ ใบเคลื่อนย้ายได้จึงผิดกฎหมายทั้งเพ

2. เมื่อได้ใบซื้อขาย หรือ ใบเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องมาแล้วก็จะต้องมีการทำเครื่องหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตัดเกล็ด หรือ ฝังไมโครชิพ ซึ่งในไมโครชิพก็จะมีเลขรหัสตรงตามระบุในใบซื้อขายอยู่ด้วย แล้วจึงนำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดไปขออนุญาตครอบครองที่กรมอุทยานฝ่ายสัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ทำใบอนุญาตครอบครองให้ ใบนี้จะมีอายุสามปี และผู้ครอบครองต้องมีการต่ออายุทุกๆสามปี จนกว่าจะไม่มีการเลี้ยงงูต่อไป

3. กรณีเพาะพันธุ์ขายจะต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ที่กรมอุทยานเช่นกัน ต้องแจ้งก่อนเพาะ ไม่ใช่เพาะแล้วแจ้ง เพราะเมื่อได้ลูกงู ก็จะต้องนำไปแจ้งเพิ่มเติม และเมื่อเวลาที่ต้องขายลูกงู ก็จะสามารถส่งต่อใบอนุญาตได้ ใบอนุญาตเพาะพันธุ์นี้มีอายุ 5 ปี และต้องต่ออายุเสมอจนกว่าจะเลิกกิจการ และต้องขอต่ออายุก่อนถึงวันหมดอายุหนึ่งเดือน

4. การค้า หรือ ขายก็ต้องขออนุญาตเช่นกัน โดยค้าได้เฉพาะลูกที่ได้จากการเพาะพันธุ์ ที่ขออนุญาตถูกต้อง จึงจะสามารถขายได้ และเมื่อมีการขายเกิดขึ้นเจ้าของฟาร์มต้องออกใบซื้อขาย หรือ ใบเคลื่อนย้ายให้กับผู้ซื้อตามข้อหนึ่ง

 







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.