เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง รับมือภัยแล้ง


27 มี.ค. 2564, 11:35



สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง รับมือภัยแล้ง




เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะได้เดินทางมาติดตามสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเพื่อรับมือภัยแล้ง ไปใต้โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) พื้นที่ลุ่มน้ำมูล โดยมีนายชยุธพงศ์ อำรุงสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ให้การต้อนรับพร้อมกับกล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์

 

 



เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) เผยว่า การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและแนทางการบริหารจัดกรน้ำเพื่อรับมือสถนการณ์ภัยแล้งปี 2564 ณ โครงกรส่งน้ำและบำรงรักษาลำตะคอง สำนักงานชลประทานที่ 8 ตำบลคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมาว่าพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยกาการให้สทนช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดติดตามสถานการณ์น้ำและการดำเนินงานรองรับสน้ำฤดูแล้ง ปี 2563/64 ควบคู่ไปกับการเตรียมมาตรการรับมือในฤดูฝนปี 2564 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนและเกษตรกร โดยเฉพาะจังหวันครราชสีมาซึ่งปัจุบันมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากการลงทุนก่อสร้าง อาทิ ถนนมอเตอร์เวย์ ถนนวงแหวนเลี่ยงเมือง และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน แต่พบว่าจังหวัดนครราชสีมา แคลนน้ำเป็นประจำ โดยปีที่แล้งหนักสุดเมื่อปี 2562 -2563 ซึ่งหนักสุดในรอบ 50 ปี และมีน้ำสำหรับ เมืองโคราชกลับมีอยู่แหล่งเดียวเท่านั้น คือ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งแผนระยะยาวมีโครงการ เหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มปริมาณน้ำตันทุนเขื่อนลำตะคองขึ้น เพื่อผันน้ำจากลุ่มน้ำป่าสักรองรับการใช้น้ำใน 18 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเป็น 367 ล้าน ดังกล่าวนอกจากแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำลำตะคอง ได้แล้ว ยังช่วยลดปัญหาอุทกภัยในพื้นสักได้อีกทางหนึ่งด้วย


ขณะที่การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะสั้น จากการประชุมติดตามแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มั่นใจได้ว่าช่วงแล้งปีนี้ต่อเนื่องถึงฤดูฝนเขื่อนลำตะคอง สามารถบริหารจัดการน้ำได้เป็นไปตามแผน โดยปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯ ประมาณ 273 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 87 % ของความจุโดยเป็นปริมาณน้ำใช้ได้ประมาณ 250 ล้านลบ. ขณะที่ปีที่ผ่านมาปีปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 110 ล้าน ลบ.ม หรือประมาณ 35% เท่านั้น แบ่งเป็น น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร และอุสาหรกรรม โดยมีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 86.57 ล้าน ลบ.ม. จากแผน 183.35 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำในอ่างลำตะคองปีนี้มีมาก เป็นผลมาจากปีที่แล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้ปริมาณน้ำเข้าเขื่อนเยอะ อาทิการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ 3 ครั้งและมีพายุที่เข้ามา 4 ลูกทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างทั้งปี'63 รวมเป็นปริมาณ350 ล้านลบ.ม ส่งผลให้ปีนี้มีการนำปรังเต็มพื้นที่รวมจำนวน 8 หมื่นไร่ ซึ่งจะสิ้นสุดการส่งน้ำเพื่อการเกษตรภายในสิ้นเดือน เมษายนนี้ รวมถึงมีปริมาณน้ำสำรองในตันฤดูฝนช่วงเดือน พ.ค. - ส ค. อีกไม่น้อยกว่า 100 ล้าน ลบม.จากปริมาณน้ำในนล่าสุดมีปริมาณน้ำมากกว่า 80% กรมชลประทานได้ดำเนิน เกณฑ์การบริหารจัดกาน้ำในเขื่อนห้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งเป็น 1ใน 9 มาตรการรับมือฤดูฝนปี รับปริมาณน้ำลงเขื่อนในช่วงฤดูฝนไว้แล้ว เพื่อป้องกันผลกระทบด้านท้ายเขื่อน โดยมีแผนนำน้ำไปเก็บกักและลำน้ำธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่ 3,000ไร่ ประกอบกับเสริมศักยภาพของเชื่อนให้สามารถรองรับเกินได้ 118% คิดเป็น ความจุ 373 ล้าน ลบ.ม สำหรับความต้องการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2564 ระหว่างเดือน พ.ค.- ต.ค. 64 มีความต้องการใช้ ประมาณ 128.19 ล้าน ลบ.ม.โดยช่วงเดือนที่ต้องการใช้มากที่สุดคือ ช่วง เดือน ก.ค.- ต.ค.ตามลำดับ






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.