เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"กองพลทหารราบที่ 9" จัดงานครบ 236 ปี วันชนะศึกทุ่งลาดหญ้า


20 ก.พ. 2564, 15:56



"กองพลทหารราบที่ 9" จัดงานครบ 236 ปี วันชนะศึกทุ่งลาดหญ้า




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า พลตรีบรรยง ทองน่วม ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 กองกำลังสุรสีห์ นำกำลังพลของกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ พร้อมด้วยคณะผู้สืบสายราชสกุล ร่วมประกอบพิธีบวงสรวง วางพวงมาลาหน้าพระบวรราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 1 พร้อมทั้งจัดพิธีบำเพ็ญกุศล ถวายแด่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 1 และดวงวิญญาณนักรบผู้กล้าที่เสียสละปกป้องประเทศชาติ เนื่องในวันครบรอบ 236 ปี วันชนะศึกทุ่งลาดหญ้า พร้อมกันนี้ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 ได้เป็นประธานในพิธีมอบเข็มพระราชลัญจกร มหาสุรสิงหนาท ให้กับผู้สืบสายราชสกุลที่เข้าร่วมในพิธีด้วย

เมื่อปีพ.ศ.2328 (กรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพฯพึ่งจะก่อตั้งและสถาปนาได้เพียง 3 ปี) พระเจ้าปดุงจึงเกณฑ์กองทัพทั้งเมืองหลวงและหัวเมืองต่างๆขึ้นเพื่อและได้รวบรวมจำนวนพลถึง 144,000 จัดกระบวนทัพออกเป็น 9 ทัพ โดยตั้งทัพบกทัพเรือเข้ามาตีไทย พม่ายกเข้ามาหลายทิศทาง หวังให้ทลายลงอย่างราบคาบก่อนที่จะเจริญรุ่งเรืองและเติบใหญ่เป็นภัยต่อพม่าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการระดมทัพใหญ่ มีกำลังพลมากที่สุดและบุกพร้อมกันหลายทิศทางเท่าที่ราชอาณาจักรสยามหรือไทยเราได้ผจญมาในอดีต

สำหรับประวัติสงครามเก้าทัพ หรือสงครามพม่า-สยาม พ.ศ. 2328-2329 (Burmese-Siamese War 1785-1786) เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้เพียงสามปี พระเจ้าปดุงกษัตริย์แห่งพม่าราชวงศ์โก้นบองมีพระราชโองการให้ยกทัพเข้าโจมตีอาณาจักรสยามเป็นจำนวนเก้าทัพมาจากหลายทิศทาง ฝ่ายสยามถึงแม้มีกำลังพลน้อยกว่าแต่สามารถต้านทานการรุกรานของพม่าได้สำเร็จ ทำให้ฝ่ายพม่าต้องปราชัย สงครามเก้าทัพเป็นการรุกรานของพม่าครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ และนำไปสู่สงครามท่าดินแดงในปีต่อมาพ.ศ. 2329

ความขัดแย้งเรื่องอิทธิพลในหัวเมืองมอญ เมืองทวายมะริดและตะนาวศรี และแนวคติความเป็นพระจักรพรรดิราชนำไปสู่การรุกรานอาณาจักรสยามของพม่า หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงขับอิทธิพลของพม่าออกไปและฟื้นฟูอาณาจักรสยามขึ้นอีกครั้ง ในสงครามอะแซหวุ่นกี้การรบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในหัวเมืองเหนือได้แก่สวรรคโลก สุโขทัย และพิษณุโลก ทำให้หัวเมืองเหนือได้รับความเสียหายสูญเสียกำลังพลประชากรเหลืออยู่น้อย พระสาทิสลักษณ์พระเจ้าปดุง ขณะประทับที่พระราชวังมัณฑะเลย์ โดยชาวอังกฤษในปีพ.ศ. 2338 ในปีพ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ของสยามและทรงปราบดาภิเษกสถาปนาพระราชวงศ์จักรี

ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าปดุง (Badon Min) ทรงปลดพระเจ้าหม่องหม่องออกราชราชสมบัติและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรพม่าราชวงศ์โก้นบอง (Konbaung dynasty) ในรัชสมัยของพระเจ้าปดุงอาณาจักรพม่าราชวงศ์โก้นบองเรืองอำนาจขึ้นอีกครั้ง พระเจ้าปดุงทรงส่งพระโอรส"อินแซะ (Ainshe หรือ Einshay) มหาอุปราช"ยกทัพไปโจมตีเมืองธัญญวดีหรือเมืองมเยาะอู้ (Mrauk-U) ราชธานีของอาณาจักรยะไข่ จนสามารถผนวกอาณาจักรยะไข่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่าได้สำเร็จในพ.ศ. 2328 หลังจากที่ทรงปราบกบฏของตะแคงแปงตะเลพระอนุชาได้สำเร็จในปีเดียวกัน ด้วยคติความเป็นพระจักรพรรดิราช พระเจ้าปดุงจึงดำริที่จะกรีฑาทัพเข้ารุกรานอาณาจักรสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ หลังจากที่สถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานีได้เพียงสามปี เพื่อสร้างอาณาจักรพม่าให้มีอำนาจเกรียงไกรดังเช่นที่เคยเป็นในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนองและพระเจ้ามังระ









Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.