เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เปิดมาตรการเยียวยาโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33


20 ม.ค. 2564, 15:28



เปิดมาตรการเยียวยาโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33




แม้ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ที่ตอนนี้มีจำนวนถึง 11 ล้านคน จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเราชนะ ของรัฐบาล ในการเยียวยาความเดือดร้อนจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังคงมีสิทธิประโยชน์ช่วยเหลืออื่น ๆ อาทิ มาตรการในการลดเงินสมทบให้กับลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ รวมไปถึงมาตรการให้เงินชดเชย กรณีว่างงานจากการลาออก หรือถูกเลิกจ้าง โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ 
 
หากว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากอาจเพราะต้องกักตัว หรือต้องเฝ้าระวัง หรือไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้าง ต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน จนส่งผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น




ให้ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวัง การระบาดของโรคหรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวแล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน

- กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน
- ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 64
- ส่วนการว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน

สำหรับลูกจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ประกันสังคม คือผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป ทำงานในสถานประกอบการ มีนายจ้างส่งเงินสมทบ 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน ถึงจะเข้าข่ายได้รับมาตรการเยียวยาดังกล่าว
 


ส่วนช่องทางการขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุโควิด-19 สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
1. ลูกจ้าง กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7 สามารถ download ได้ที่ www.sso.go.th)แล้วส่งให้นายจ้างพร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก
2. นายจ้าง รวบรวมแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) จากลูกจ้าง
3. นายจ้าง บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service (www.sso.go.th)
- ข้อมูลลูกจ้างตาม แบบ สปส.2-01/7
- หนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว (นายจ้างที่ใช้ระบบครั้งแรกต้องลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบก่อน)
4. นายจ้าง นำส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) ของลูกจ้างที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service ไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
- ทางไปรษณีย์ (ลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service
5. ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชี ภายใน 5 วันทำการ (กรณีเงินไม่เข้าบัญชี โทร สายด่วน 1506)
- ระบบ e-Service เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานโควิด-19
https://www.sso.go.th/eservices/esv/index.jsp

ทั้งนี้ ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องเดินทางมายังสำนักงานประกันสังคม และหากดำเนินการดังที่กล่าวครบถ้วน เงินจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ และรอบตัดจ่ายกำหนดทุกสิ้นเดือนถัดไป หรือจนกว่าจะครบวันที่สถานประกอบการมีกำหนดปิด
 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.