เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"รองผู้ว่าฯน่าน" เปิดกิจกรรมการสัมมนา “น่าน อยู่ดี มีสุข” ระดมภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว


7 ม.ค. 2564, 10:45



"รองผู้ว่าฯน่าน" เปิดกิจกรรมการสัมมนา “น่าน อยู่ดี มีสุข” ระดมภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว




นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการสัมมนา น่าน อยู่ดี มีสุขในการศึกษาพื้นที่ Zoning เพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์และเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก(GSTC) ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท นำโดย นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 ร่วมกับ ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา และในฐานะหัวหน้าโครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางภูมิปัญญา และวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทน ชุมชน 5 ตำบล พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ได้แก่ ตำบลบ่อสวก ตำบลนาซาว ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลในเวียง และตำบลดู่ใต้ รวมทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม ที่มีความเกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนและผลักดันการท่องเที่ยวในทุกมิติของจังหวัดน่าน ณ ห้องประชุม โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน

นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 กล่าวว่า การจัดกิจกรรมสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเป็นการนำเสนอและคืนข้อมูลผลการดำเนินกิจกรรม การศึกษาพื้นที่ท่องเที่ยว zoning สำหรับการพัฒนา และบริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เพื่อให้สอดคล้อง กับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์และเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก โดยให้ผู้แทนชุมชนทั้ง 5 ตำบลและภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่านได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาพื้นที่ตามหลักการมีส่วนร่วม Co-Creation

   ซึ่งจากการที่จังหวัดน่าน ได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยว ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรางวัลด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นที่รู้จักและจดจำ ทำให้จังหวัดน่าน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นทุกปี และอาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรภายในจังหวัด วิถีชีวิตของชุมชน และอาจเกิดปัญหาต่อคุณภาพของการท่องเที่ยวในอนาคต และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยในปี 2562 อพท.น่าน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินโครงการ ศึกษาขีดความสามารถ ในการรองรับนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เพื่อให้ชุมชนสามารถทราบถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน นำมาใช้วางแผน พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีการจัดการด้านความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐาน มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ตามเกณฑ์การจัดการท่องเที่ยวโลกอย่างยั่งยืน  สามารถคงคุณภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวได้มีมาตรฐานสม่ำเสมอ ภายใต้แนวคิด น่าน พอดี มีสุข”  และในปี 2563 อพท.น่าน ได้ดำเนินการต่อยอด ผลการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับ ให้มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนของประเทศไทย เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล มาตรฐานเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ของยูเนสโก และมาตรฐาน Sustainable Destinations Top 100  ซึ่งหลังจากที่ได้ดำเนินการศึกษาพื้นที่ท่องเที่ยว สำหรับการพัฒนา และได้ผลการศึกษาแล้ว จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนา เพื่อเป็นการคืนข้อมูล และระดมความคิดเห็น จากตัวแทนชุมชนทั้ง 5 ตำบล ซึ่งจะทำให้ชุมชน ได้รู้ถึงขีดจำกัด และขีดความสามารถ ในการรองรับการพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยว และพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่ชุมชนจะรองรับได้ การกำหนดเขตการจัดการพื้นที่ เพื่อการท่องเที่ยว โซนนิ่งและกำหนดมาตรการจัดการที่เหมาะสมในแต่ละเขตพื้นที่ ให้เป็นต้นแบบในการนำไปใช้บริหารจัดการพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนอื่นๆ รวมถึงมีแนวทางการพัฒนาและการออกแบบ เพื่อให้การบริการนักท่องเที่ยวมีคุณภาพดียิ่งขึ้นในอนาคต และสามารถนำผลการศึกษามาเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บท การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน ปี 2563-2570 ตามวิสัยทัศน์ น่านเมืองเก่าที่มีชีวิต อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนซึ่งในเวทีได้มีการนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการออกแบบและพัฒนาพื้นที่ทั้ง 5 ตำบล และพื้นที่ใกล้เคียงให้มีความเชื่อมโยง ทั้งทางด้านวิถีชีวิต เกษตรกรรม วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ ซึ่งในอนาคตจะมีอาจมีการขยายพื้นที่ศักยภาพการท่องเที่ยวจากระดับตำบลไปสู่ระดับ 15 อำเภอทั้งหวัดน่าน และการเชื่อมโยงไปถึงระเบียงเศรษฐกิจล้านนาตะวันออกด้วย




 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.