เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ม.วลัยลักษณ์ เมืองคอน เปิดตัวโครงการ “ท่าศาลาเมืองน่าอยู่ ทะเลสุขคนก็สุข ”


24 ก.ค. 2562, 20:05



ม.วลัยลักษณ์ เมืองคอน เปิดตัวโครงการ “ท่าศาลาเมืองน่าอยู่ ทะเลสุขคนก็สุข ”




 

24 ก.ค.62 ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตามที่อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้จัดตั้ง Excelence center เพื่อดำเนินการเสริมสร้างอาชีพชั้นพื้นฐานให้กับประชาชน และสนับสนุนประชาชนที่มีความสนใจจะประกอบอาชีพในรูปแบบธุรกิจให้เกิดการรวมกลุ่มกลายเป็นวิสาหกิจชุมชน พร้อมสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทั้งในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด และพัฒนายกระดับวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพให้ได้มาตรฐาน มาตลอดระยะเวลา 1 ปี การให้บริหารที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี ล่าสุดได้ร่วมกับอำเภอท่าศาลา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ.ท่าศาลา ได้จัดทำโครงการวลัยลักษณ์บูรณาการ “ท่าศาลาเมืองน่าอยู่ ทะเลสุขคนก็สุข” โดยเปิดโครงการและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อวันที่ 23 ก.ค.62 ที่ผ่านมา โดยมี ศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโครงการ ณ ชายหาดบ่อนนท์ หมู่ 10 อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งในพิธีเปิดมี รศ.ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา รศ.ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรดรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน คณบดีและอาจารย์จากทุกสำนักของมหาวิทยาลัยลักษณ์ นายชัยศักดิ์ สุจริตธนารักษ์ ปลัดอาวุโสอำเภอท่าศาลานายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา กำนันผู้ใหญ่บ้าน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการนับพันคน

 

 

สำหรับการเปิดโครงการ "ท่าศาลาเมืองน่าอยู่ ทะเลสุขคนก็สุข" ในวันดังกล่าว มีกิจกรรมอย่างมากหมายหลากหลาย ประกอบด้วย การแสดงดนตรีของยุวชนจากโรงเรียนท่าศาลา การจัดขบวนจักรยานรณรงค์การจัดการขยะและขบวนรณรงค์ขับขี่ปีลอดภัย เส้นทาง มวล.-หาดบ่อนนท์ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน นิทรรศการการจัดการขยะ พิษภัยจากขยะ กิจกรรมเก็บขยะทะเลโดยนักประดาน้ำ กิจกรรมเก็บขยะชายหาด นิทรรศการยกระดับคุณภาพชีวิต ต้นไม้แห่งความสุข ( Happy tree )  นิทรรศการธนาคารปูม้า - ชี้แจงกระบวนการการจัดการขยะ โดยอาจารย์ภูสิต ห่อเพชร การแสดงเพลงคัดแยกขยะ (ระบำขยะ) จากนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสระแก้ววิทยา - การแสดงศิลปะ Live Performance ขยะทะเล โดยคุณมูซา รักษา (ศิลปินขยะทะเล) – กิจกรรมอาหารเพื่อสุขภาพจากชุมชน และหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่ และการสาธิตและแสดงเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

“การจัดตั้ง Excelence center ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเสริมสร้างอาชีพชั้นพื้นฐานให้กับประชาชน และสนับสนุนประชาชนที่มีความสนใจจะประกอบอาชีพในรูปแบบธุรกิจให้เกิดการรวมกลุ่มกลายเป็นวิสาหกิจชุมชน พร้อมสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทั้งในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด และพัฒนายกระดับวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อขยายโอกาสทางการกลายเป็น SME เ ช่น OTOP, มผช. , อย. เป็นต้น โดยการนำ เครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความ ต้องการของตลาดพัฒนาคุณภาพมาตรฐานกรผลิตฯ รวมไปถึงการนำวิสาหกิจชุมชนที่มี ศักยภาพเหล่านั้นไปทดสอบตลาดนอกพื้นที่โดยมีกลุ่มเป้หมายพื้นที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ ภาคใต้ได้แก่ประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มอาชีพและสมาชิกเช่นกลุ่มแม่บ้านกลุ่มเกษตรกร ธุรกิจ ชุมชนประเภทวิสาหกิจชุมชนหรือผู้ประกอบการ SMEs เช่น ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะบุคคลนิติบุคคลต่าง และในการดำเนินการทั้งหมดนั้นจะน้อมนำหลัก เศรษฐกิจพอเพียง" มาใช้ดำเนินการทุกขั้นตอน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เช่น ด้านการฝึกอบรมอาชีพส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบการจัดทำโครงการนำร่อง/เพิ่มองค์ความรู้ยกระดับและสนับสนุนพัฒนาด้านการผลิต ฯลฯ ส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เป็นเครือข่ายสร้างกลุ่มผู้ผลิตชุมชน หรือผู้ประกอบการใหม่จัดทำศูนย์การเรียนรู้ ต้นแบบหรือศูนย์กลางการกระจายสินค้า เป็นต้น”

ซึ่งจัดตั้ง Excelence center ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ได้เริ่มต้นจากการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ค้นพื้นฐานอาชีพหรือพื้นฐานธุรกิจจำนวน 400 ราย 2. คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการรอบ 400 ราย โดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกให้ได้ผู้ดำเนินธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 50 ราย เพื่อมาดำเนินการประเมินตนเองหรือ Self-Assessment และนำผลที่วิเคราะห์ได้มาพัฒนาพร้อมฝึกอบรมฝึกปฏิบัติเชิงลึก 5 ด้าน ให้ธุรกิจแต่ละรายและพัฒนาใหม่กิจการละ 1 เว็บไซต์และน้ำไปร่วมออกงานแสดงสินค้หรือจำหน่ายสินค้า ร่วมกับ 8 หน่วยงาน ทั่วประเทศ 3. คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการรอบ 5 ราย โดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกให้ได้ผู้ดำเนินธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 20 ราย เพื่อจัดอบรมให้ความรู้ในการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน/อบรมให้ ความรู้การยกระดับเข้าสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อการคทั้งทฤษฎีและปฏิบัติและ ดำเนินการผลักดันให้เกิดเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างน้อย 1 เครือข่าย 4. คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการรอบ 20 ราย โดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกให้ได้ผู้ดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 5 ผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยมีงบประมาณสนับสนุนดำเนินการพัฒนาคุณภาพสินค้า หรือกระบวนการผลิตสินค้าหรือ กระบวนการบรรจุภัณฑ์หรือพัฒนาการบริการ หรือกระบวนการบริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการละ 1500,000 บาท และ 5. คัดเลือกผลิตภัณฑ์หรือบริการรอบ 5 ผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อให้ได้ Product Champion 1 ผลิตภัณฑ์หรือบริการเชื่อว่าโครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (พื้นที่ภาคใต้) จะประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์เกินเป้าหมายอย่างแน่นอน

 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.