เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



คืบหน้า “รถไฟฟ้าโคราช”  รัฐเวนคืน 1.1 พ้นล้าน  ดึงเอกชนลงทุน 30 ปี


1 ก.ย. 2563, 14:11



คืบหน้า “รถไฟฟ้าโคราช”  รัฐเวนคืน 1.1 พ้นล้าน  ดึงเอกชนลงทุน 30 ปี




 

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าฝ่ายกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.15 กม. วงเงิน 7,115 ล้านบาท ออกแบบรูปแบบโครงการไว้เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) วิ่งบนพื้นดินทั้งเส้นทาง มี 21 สถานี


ขั้นตอนหลังจากนี้ จะสรุปผลการศึกษาให้ชัดเจนอีกครั้งและจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ภายในปีนี้ จากนั้นจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการภายในกลางปี 2564 จากนั้นจะเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนอีก 1 ปี ก่อนจะเริ่มก่อสร้างในเดือน ส.ค.2565 คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยจะเปิดบริการช่วงปลายปี 2568 คาดว่าจะมีผู้โดยสารเริ่มต้นในปีแรกที่ 9,920 คนเที่ยว/วัน

“รูปแบบโครงการเป็นเอกชนร่วมลงทุน (PPP) แบบ Net Cost เอกชนรับภาระทั้งงานโยธา งานระบบ การจัดหาขบวนรถและบริหารโครงการ ระยะเวลา 33 ปี สร้าง 3 ปี บริหาร 30 ปี ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 21 บาท ส่วนรัฐจะอุดหนุนเท่าไหร่อยู่ระหว่างศึกษาในรายละเอียด”

 

โดยวงเงินโครงการ แบ่งเป็น 

1.ค่าเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินช่วงสถานีตลาดเซฟวัน เพื่อทำอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง และสถานีบ้านนารีสวัสดิ์ เพื่อทำอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง และศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) 1 แห่ง วงเงิน 1,180.21 ล้านบาท

2.ค่างานโยธา 2,254.70 ล้านบาท 

3.ค่างานระบบรถไฟฟ้า 2,260.36 ล้านบาท 

4.ค่างานจัดหาขบวนรถ 995.54 ล้านบาท 

5.ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและคุมงานก่อสร้าง 176.59 ล้านบาท 

6.Provisional Sum 248.08 ล้านบาท

 



ส่วนรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสรรไม่เพียงพอแน่นอน จึงเปิดโอกาสให้เอกชนหารายได้อื่น (Non-Fare Revenue) เช่น ค่าเช่าพื้นที่โฆษณา, ค่าเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ ค่าจอดรถอาคารจอดแล้วจร เป็นต้น โดยคิดเป็น 5% ของรายได้ค่าโดยสาร


สำหรับรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ระหว่างจัดทำรายงานฉบับสุดท้าย (Final Report) คาดว่าจะส่งให้สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ในช่วงปลายปี โดยไม่มีปัญหาเรื่องของการผ่านย่านเมืองเก่าแต่อย่างใด เพราะได้หารือกับกรมศิลปากรตั้งแต่เริ่มศึกษาโครงการแล้ว

โดยคาดว่าโครงการนี้จะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ที่ 13% และผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR คิด ณ 5%) มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ -9,099.70 ล้านบาท



สำหรับแนวเส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่ตลาดเซฟวัน ฝั่งขาเข้าตัวเมืองนครราชสีมา วิ่งไปตามแนวถ.มิตรภาพผ่านแยกปักธงชัย เบี่ยงขวาตามทางรถไฟ มุ่งหน้าตาม ถ.สืบศิริ ซ.6 เลี้ยวซ้ายผ่านทางรถไฟไปตามแนว ถ.สืบศิริ แล้วเลี้ยวขวาบริเวณวัดใหม่อัมพวัน ไปตามแนว ถ.มุขมนตรี ผ่านสวนภูมิรักษ์และตลาด 100 ปี ร.ร.มารีย์วิทยา สถานีรถไฟนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ

จากนี้เส้นทางจะแยกเป็น 2 ทางคือ ขาไปตาม ถ.โพธิ์กลาง จนถึงหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 224 ผ่าน ร.ร.เมืองนครราชสีมา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ร.ร.อนุบาลนครราชสีมา ร.ร.สุรนารีวิทและวัดสามัคคี จากนั้นเลี้ยวซ้ายที่แยกสุรนารายณ์ แล้วมุ่งตรงไปตาม ถ.สุรนารายณ์ ผ่าน ม.ราชภัฎนครราชสีมา และ ม.ราชมงคลอีสานนครราชสีมา สิ้นสุดที่บ้านนารีสวัสดิ์

อีกทางคือขากลับ จากบ้านนารีสวัสดิ์ถึงแยกสุรนารีจะใช้เส้นทางเดียวกันกับช่วงขาไป จากนั้นจะใช้ ถ.ชุมพลและ ถ.จอมสุรางค์ยาตร์จนถึงห้าแยกหัวรถไฟ แล้วใช้เส้นทางเดียวกับขาไปจนถึงตลาดเซฟวัน

 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.