เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



คกก.ชุดตร.แถลง "เพิ่มพูน ชิดชอบ" รอดไม่บกพร่องคดี "บอส อยู่วิทยา" -สอบสวนชุดเก่าเข้าข่ายผิด ม.157


13 ส.ค. 2563, 15:23



คกก.ชุดตร.แถลง "เพิ่มพูน ชิดชอบ" รอดไม่บกพร่องคดี "บอส อยู่วิทยา" -สอบสวนชุดเก่าเข้าข่ายผิด ม.157




วันนี้ (13 ส.ค.63) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. พร้อมด้วยพล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.กฤษณะ ทรัพย์เดช จเรตำรวจ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำสำนวนการสอบสวนคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง ที่ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 

ทางด้าน พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ได้เผยผลการตรวจสอบความบกพร่องของ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ไม่พบความบกพร่องเนื่องจากการพิจารณาคำแย้งคำสั่งพนักงานอัยการ แย้งได้เฉพาะประเด็นข้อกฎหมาย กฎระเบียบ ว่าตามที่พนักงานอัยการกล่าวอ้างมาถูกต้องหรือไม่ โดยจะนำความในคำพิพากษาศาลฎีกา หรือความเห็นทางกฎหมายจากผู้เชี่ยวชาญประกอบเหตุผลการพิจารณา และพิจารณาจากข้อเท็จจริง พยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนที่อัยการส่งมาเท่านั้น และแย้งได้เฉพาะประเด็นที่สามารถกลับความเห็นของพนักงานอัยการได้ ไม่มีอำนาจทำการสอบสวนพยานหลักฐานเพิ่มเติม หรือหยิบยกพยานหลักฐานนอกสำนวนมาพิจารณาได้เนื่องจากอำนาจการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ ในประเด็นข้อเท็จจริงที่นำมาพิจารณาต้องประกอบด้วยพยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอันสามารถหักล้างความเห็นไม่ฟ้องของพนักงานอัยการได้

 



นอกจากนี้ คณะกรรมการพบข้อบกพร่องหลายแห่ง ซึ่งจะเสนอผบ.ตร.เพื่อพิจารณา ได้แก่  1. นำเรียนข้อบกพร่องทั้งหมดที่พบของตำรวจ และจะตรวจสอบว่ากรณีใดบ้างที่ ป.ป.ช.ได้พิจารณาชี้มูลไปแล้ว กรณีบกพร่องที่ยังไม่ได้มีการชี้มูลหรือลงทัณฑ์ ทางคณะกรรมการจะพิจารณามีความเห็นเสนอ ผบ.ตร. เพื่อพิจารณาสั่งการดำเนินการทางวินัยต่อไป หากพบความผิดทางอาญาจะเสนอให้ดำเนินคดีอาญาต่อไป

2. คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบข้อเท็จจริงงเพิ่มเติม เช่น รายงานการคำนวณความเร็วจากผู้เชี่ยวชาญมายืนยันความเร็ว ที่ 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และผู้เชี่ยวชาญอื่น ก็ยืนยันที่ความเร็ว 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญแก่คดีที่สามารถพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้ต้องหา เพื่อให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาตามกฎหมายได้ เห็นควรส่งพยานหลักฐานรายละเอียดข้อเท็จจริงไปยังอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาดำเนินการตาม ป.วิอาญามาตรา 147 ต่อไป

3. คณะกรรมการตรวจพบความบกพร่องในการดำเนินคดีเรื่องยาเสพติดให้โทษ ที่ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยได้สอบถามเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอบปากคำเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ แล้วพบว่าสารแปลกปลอม ทั้ง 2 ชนิด ที่เกิดในร่างกาย เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับโคเคน ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น การใช้ยาอะม็อกซิลีน ไม่ทำให้เกิดสารแปลกปลอมดังกล่าวได้ ซึ่งกรณีความผิดการเสพโคเคน มีอัตราโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับ 1 หมื่น ถึง 6 หมื่นบาท และยังมีอายุความอยู่ เห็นควรให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีในเรื่องนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ผบ.ตร.ได้สั่งการว่าจะเข้ามาดูแลการสั่งคดีเรื่องแย้งความเห็นของพนักงานอัยการด้วยเองทุกคดี


อย่างไรก็ตาม ผบ.ตร. จะส่งพยานหลักฐานให้อัยการดำเนินคดีใหม่ ตามป.วิ.อาญา มาตรา 147 จะทำให้รื้อคดีขึ้นมาทำใหม่ 2 ข้อกล่าวหา ในส่วนการขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีอัตราโทษสูงและข้อหายาเสพติดประเภท 2 (โคเคน) มีอัตราโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 3 ปี และเรื่องขอถอนหมายแดงของตำรวจสากล หากรื้อคดีใหม่ก็สามารถเสนอขอหมายแดงใหม่ได้ 

นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มีส่วนทำผิดตำแหน่งสูงสุดในขณะนั้น คือระดับรองผู้บัญชาการ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และหนึ่งในนั้นมีชื่อของ พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ ที่จะต้องถูกสอบวินัย และคำเนินคดีตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 กับตำรวจ 14 นาย เป็นพนักงานสอบสวนชุดเก่า 11 นาย และชุดใหม่ 3 นาย 

สำหรับข้อบกพร่องของผู้เกี่ยวข้องการสอบสวน ที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่พบเพิ่มเติมคือ 
1.ไม่ดำเนินการตรวจสอบปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติดเมื่อได้ตัวผู้ต้องหา
2.ไม่เก็บหลักฐานคำให้การสอบสวนพยานเพิ่มเติมตามระเบียบ
3.ผู้ออกรายงาน ให้การไม่ตรงกับรายงาน
4.พนักงานสอบสวยไม่ออกหมายจับตามคำสั่งพนักงานอัยการ 

และข้อบกพร่องผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีจราจร 632/2555 ของสน.ทองหล่อ ตามคำสั่งตร.ที่ 255/2559 ลง 22 เมษายน 2559 ได้แก่
1.ไม่ได้ทำการสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ทำการตรวจค้นบ้านผู้ต้องหาในวันเกิดเหตุประกอบสำนวนการสอบสวน

2.ไม่ได้ทำการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ และไม่ได้รวบรวมพยานหลักฐานทันที เป็นเหตุให้ขาดพยานหลักฐานในการฟ้อง

3.ไม่ได้สอบสวนปากคำผู้ต้องหามามอบตัวประกอบสำนวน ไปที่ไหนอย่างไร และข้อเท็จจริงแห่งคดี

4.การทำสัญญาประกันปล่อยตัวชั่วคราวบกพร่อง ผู้ต้องหาได้เข้ามอบตัวเอง จึงไม่ใช่ผู้ถูกจับกุม และไม่มีหมายจับตามป.วิ.อาญา มาตรา 134 วรรคท้าย พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจให้ประกันตัว ซึ่งจะต้องส่งผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอหมายขังทันที

5. การใช้ดุลยพินิจของคณะพนักงานสอบสวนที่มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในความผิดฐานขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

6. ผลการตรวจวิเคราะห์สารเสพติดที่เป็นสารเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากการเสพโคเคน(ยาเสพติดประเภท2) และคำให้การของแพทย์ผู้ตรวจพิสูจน์ยืนยันว่าพบสาร ที่เกิดจากการเสพ โคเคนในร่างกายผู้ต้องหา ไม่นำเข้าพิจารณาในการทำความเห็นในข้อหาขับรถโดยประมาทฯ และไม่มีการพิจารณาในเรื่องข้อหาเสพยาเสพติด

7. พนักงานสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.5 ที่ 183/55 ลง 4 ก.ย. 55 ไม่กำกับดูแลให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่เป็นไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134 วรรคท้าย

8. คณะพนักงานบสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.5 ที่ 183/55 ลง 4 ก.ย.55ไม่ขอขยายเวลาการสอบสวนตามคำสั่ง ตร.ที่ 960/37 ลง 10 ส.ค.37 เมื่อได้ทำการสอบสวนครบกำหนดระยะเวลา

9. คณะพนักงานบสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.5 ที่ 183/55 ลง 4 ก.ย.55 มีหลักฐานการรับสำนวนของพนักงานอัยการแต่ไม่รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และไม่ส่งตัวผู้ต้องหาไปขอศาลออกหมายขังเมื่อการสอบสวนครบกำหนดเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 113 วรรคสอง

10. ผกก.สน.ทองหล่อ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ไม่ได้กำกับดูแลการสอบสวนโดยใกล้ชิด ทั้งที่เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน


คำที่เกี่ยวข้อง : #บอส  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.