เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ผู้ตรวจสำนักนายกฯ ตรวจสอบอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ สภาพแล้งสาหัส


9 ก.ค. 2563, 12:29



ผู้ตรวจสำนักนายกฯ ตรวจสอบอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ สภาพแล้งสาหัส




ผู้ตรวจสำนักนายกเห็นสภาพอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ อ.โป่งน้ำร้อน จันทบุรี อ่างแห่งแรกรับน้ำจากป่าต้นน้ำภาคตะวันออก แล้งสาหัสถึงกับผงะ  อุทาน! อย่างประหลาดใจ “ไม่มีน้ำเลย” เร่งให้การสร้างรางส่งน้ำจากอ่างคลองพระพุทธ กระจายไปยังตำบลต่าง ๆ ใน อ.โป่งน้ำร้อน เดินหน้าต่อได้ หลังจากติดสารพัดปัญหาระบบราชการไทย หลังสภาพพื้นที่เปลี่ยนไปจากเดิม ผู้รับเหมาสร้างได้เพียงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ หยุดก่อสร้างทันที ต้องรอให้กรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กรมชลประทาน อนุญาตก่อน จึงจะสร้างต่อได้ สวนทางกับชาวบ้านที่เดือดร้อนสุด ๆ จากความแห้งแล้งรุนแรงในปีนี้



วันที่ 9 ก.ค. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณรงค์ เชื้อบุญ ผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ อ.โป่งร้อน จ.จันทบุรี ตรวจสภาพความแห้งแล้งของอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน อ่างรับน้ำแห่งแรกที่รับน้ำจากป่าเขาสอยดาว เทือกเขาป่าต้นน้ำภาคตะวันออกของแม่น้ำหลายสาย อาทิ แม่จันทบุรี , คลองพระสะทึง จ.สระแก้ว , แม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และแม่น้ำปราจีนบุรี พบว่า มีปริมาณน้ำเหลือเพียง 6 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเคยมีน้ำกว่า 76 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และมีวัชพืช ต้นไม้แห้งที่เคยจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำดังกล่าว ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยทันทีที่นายณรงค์ เห็นสภาพอ่างเก็บคลองพระพุทธ ถึงกับรู้สึกประหลาดใจ และออกปากว่า “ไม่มีน้ำเลย” ก่อนที่นายณรงค์จะไปตรวจการก่อสร้างรางส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธไปยัง ต.หนองตาคง , ต.เทพนิมิต และ ต.คลองใหญ่ ใน อ.โป่งน้ำร้อน พบว่า มีระยะทางของรางที่กรมชลประทานว่าจ้างให้ผู้รับเหมาสร้างรางส่งน้ำทั้งสิ้น 3 เฟส เสร็จไปแล้ว 2 เฟส ขณะนี้อยู่ในการก่อสร้างเฟสที่ 3 เฟสนี้มีวงเงินก่อสร้างกว่า 206 ล้าน ระยะทางทั้งสิ้นกว่า 40 กม.  สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 63 แต่สร้างไปได้เพียงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เท่นั้น ผู้รับเหมาไม่สร้างต่อไป เนื่องจากบางพื้นที่ได้กลายสภาพเป็นถนน ต้องรอให้กรมทางหลวงชนบทยินยอม บางแห่งพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน ต้องให้กรมชลประทานอนุมัติก่อนเช่นเดียวกัน

 

 

 

 

นายณงค์ เปิดเผยว่า ยอมรับว่า อ.โป่งน้ำร้อน แล้งมาก เพราะต้องรอน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ขณะที่ชาวบ้านที่ปลูกผลไม้ต่าง ๆ ล้วนต้องการใช้น้ำมากในการเพาะปลูก การรอแต่น้ำฝนเพียงอย่างเดียว โอกาสความเสียหายของผลไม้จึงมีมากเช่นเดียวกัน ขณะที่ระบบการผันน้ำเข้าสวนก็ทำได้ยากพอสมควร แต่หากหาวิธีผันน้ำจาก จ.ตราด จากตัวเมือง จ.จันทบุรี เข้ามาในพื้นที่ก็จะช่วยชาวสวนได้มาก เพราะเป้นพื้นที่ที่ไม่ขาดแคลนน้ำ

 

 


นายณรงค์ เปิดเผยอีกว่า ขณะที่การก่อสร้างมีปัญหาสร้างต่อไม่ได้ เพราะสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทางกรมชลประทานได้ให้ผู้รับเหมาหยุดการก่อสร้างชั่วคราว เนื่องจากมีถนนผ่านเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้างหลายเส้น จากเดิมไม่มี ต้องขออนุญาตทั้งกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท รวมทั้งต้องเสนอให้อธิบดีกรมชลประทานแก้ไขแบบที่ก่อสร้างใหม่ ต้องใช้เวลาอีก 2 – 3 เดือนกว่าจะเสร็จขั้นตอนนี้ ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ต่างกำลังเดือดร้อนจากความแห้งแล้งกันมาก แต่หากรางส่งน้ำแล้วเสร็จ ก็จะสามารถเยี่ยวยาแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งจะได้เสนอให้ทุกฝ่ายหาทางแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป

 

 

 

 

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.