เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



วอนอย่าเข้าใจผิด ยันสตรีสูงศักดิ์ในภาพ ไม่ใช่ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แต่เป็น "ท้าววรจันทร์"


7 มิ.ย. 2563, 16:06



วอนอย่าเข้าใจผิด ยันสตรีสูงศักดิ์ในภาพ ไม่ใช่ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แต่เป็น "ท้าววรจันทร์"




ตามที่ในโลกสังคมออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพของสตรีสูงศักดิ์ท่านหนึ่ง แล้วมีความเข้าใจกันว่า ท่านคือ ท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม บุคคลอันที่เคารพรักของชาวจังหวัดนครราชสีมา นั้น ล่าสุด ทางเพจเฟซบุ๊กโบราณนานมา ได้ออกไขกระจ่างถึงความเข้าใจผิดดังกล่าว ระบุว่า เป็นภาพที่ได้สร้างความเข้าใจผิด และสับสน ต่อคนที่พบเห็นเป็นจำนวนมาก 

โดยขอพูดถึงเรื่อง “กล้องถ่ายรูป” ก่อนเลยแล้วกัน ผู้ที่นำ “กล้องถ่ายรูป” เข้ามาในประเทศสยามครั้งแรก คือ “พระสังฆราชปาลเลอกัว” บาทหลวงคาทอลิคชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่ประเทศสยาม เมื่อปี 2388 ตรงกับปลายรัชกาลที่ 3 ส่วน “ท้าวสุรนารี (ย่าโม)” ท่านเกิดปี 2314 ในสมัยกรุงธนบุรี และมีชีวิตเรื่อยมาจนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2395 คือช่วงต้นรัชกาลที่ 4 พอดี ซึ่ง ณ เวลานั้นกล้องถ่ายรูปเข้ามาแล้วก็จริง แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายในสยาม เนื่องด้วยคนไทยในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการปั้นหุ่น การวาดรูป การถ่ายรูป จะมีอายุสั้น หรือจะถูกนำไปทำร้ายด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ คนสมัยนั้นจึงไม่กล้าที่จะถ่ายรูปกัน



ความเชื่อดังกล่าวนี้มีมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 4 เป็นเจ้านายพระองค์แรก ๆ ที่ทรงยอมถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ทำให้การถ่ายภาพเริ่มได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูง และประชาชนนิยมการถ่ายภาพเจริญรอยตามพระองค์มากขึ้น

เมื่อเทียบจากช่วงเวลาที่ “กล้องถ่ายรูป” ได้รับความนิยม และปีที่ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีภาพถ่ายจริง ๆ ของ “ท้าวสุรนารี (ย่าโม)”


ส่วนบุคคลในภาพ คือ “ท้าววรจันทร์” หรือ เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชโอรส 1 พระองค์ คือ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา” เป็นต้นราชสกุล “โสณกุล”


และภาพด้านล่าง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (ขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา) ประทับบนรถม้านั่ง ในงานพระราชทานพระกฐินหลวง ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม

และท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) ประทับยืน






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.