เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ในหลวง - พระราชินี" พระราชทานห้องตรวจหาเชื้อให้แก่ รพ.พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นแห่งที่ 9


22 พ.ค. 2563, 14:31



"ในหลวง - พระราชินี" พระราชทานห้องตรวจหาเชื้อให้แก่ รพ.พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นแห่งที่ 9




เวลา 10.30 น.วันนี้ 22 พ.ค.63 ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปดเกล้า ฯ พระราชทาน “ห้องตรวจหาเชื้อ” (Modular Swab Unit) ภายใต้ “โครงการเครื่องช่วยหายใจและเครื่องมือแพทย์ พระราชทาน” ให้กับโรงพยาบาลพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นแห่งที่ 9 โดยได้พระราชทาน พระราชทรัพย์ให้ SCG ดำเนินการก่อสร้างให้ 20 โรงพยาบาล ทั่วประเทศเพื่อเสริมความพร้อม หากมีสถานการณ์ การระบาดของเชื้อโควิด 19 ระลอกใหม่

ซึ่งห้องตรวจหาเชื้อดังกล่าว มีการแยกพื้นที่ ระหว่างทีมแพทย์และคนไข้ ออกจากกัน และใช้ระบบควบคุมแรงดัน และคุณภาพอากาศที่เหมาะสม พร้อมมีระบบฆ่าเชื้อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยสามารถติดตั้งในพื้นที่จำกัด ได้ในเวลาเพียง 3 วัน ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ขณะปฎิบัติหน้าที่ รวมทั้งประชาชนที่มาตรวจรักษา โดยผลการตรวจจะทราบภายใน 4 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ยังความปลื้มปิติ แก่บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ต่างรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

ทั้งนี้ พิธีรับพระราชทานห้องตรวจหาเชื้อดังกล่าว มีนายแผน วรรณเมธี เลขาธิการ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย นายธรรมศักดิ์ รัตนธัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์โศภณ นภาธร ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาดไทยและ ผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เข้าร่วมรับพระราชทานห้องตรวจหาเชื้อดังกล่าว

นวัตกรรม “ห้องตรวจหาเชื้อ” (Modular Swab Unit) นี้พัฒนาจากเทคโนโลยี่ของ SCG HEIM และ Living Solution ภายในห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้ออกแบบให้มีระบบ Smart Indoor Air Quality (IAQ Smart) ที่ช่วยควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศให้สะอาดปลอดภัยและระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล ที่ทำให้ห้องปิดสนิท ป้องกันอากาศเข้าออกตัวอาคาร ทำให้ตัวอาคารสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เป็นอย่างดี

โดยทีมแพทย์จะอยู่ในห้องความดันบวกที่ไม่มีอากาศเสียจากภายนอกเข้าไปอากาศภายใน จึงบริสุทธิ์ปลอดภัย ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ จะอยู่ในห้องความดันลบ และมีระบบดูดอากาศเสียออกไปกำจัดอย่างต่อเนื่อง จึงป้องกันไม่ให้มีอากาศฟุ้งกระจายออกไปภายนอก เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ทีมแพทย์

ซึ่งการเก็บตัวอย่าง จะทำแผ่นแผ่นอะคริลิก ที่เจาะเป็นช่วง โดยแพทย์สามารถสอดมือผ่านช่องที่มีถุงมือคลุมด้วยพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อเก็บตัวอย่าง จึงลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากผู้ที่เข้ารับการตรว พร้อมใช้แสงยูวี เข้มข้นสูง ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ หลังจากการใช้งานในห้องทุกครั้ง

ทั้งนี้ โครงสร้างกว่าร้อยละ 80 ประกอบขึ้นรูปภายในโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพและมีความสะอาด ตลอดกระบวนการผลิต และยังสามารคิดตั้งได้อย่างรวดเร็ว

 

 









Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.