เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ใหม่ สุคนธวา" โอดสุดทรมาน เพิ่งรู้ตัวป่วยเป็นโรครักษาไม่หาย "ไฟโบรมัยอัลเจีย"


18 พ.ค. 2563, 14:37



"ใหม่ สุคนธวา" โอดสุดทรมาน เพิ่งรู้ตัวป่วยเป็นโรครักษาไม่หาย "ไฟโบรมัยอัลเจีย"




สร้างความตกใจให้กับแฟน ๆ ขึ้นทันที เมื่อนักแสดงสาว ใหม่ สุคนธวา เกิดนิมิตร ได้ออกโพสต์อินสตาแกรม maisukhon เผยว่าขณะนี้เธอกำลังป่วยเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หาย และได้สร้างความทรมานให้กับตัวเธออย่างมาก เธอได้โพสต์ข้อความระบุว่า "ไฟโบรมัยอัลเจีย โรคที่หมอตรวจเจอว่าฉันเป็น และไม่มีทางหาย ใครรู้จักความทรมานของมันบ้าง เชื่อว่าน้อยคนที่จะรู้จักกับโรคนี้ แต่โคตรทรมานเลย โรคที่ทำให้ฉันนอนไม่หลับเลย เกือบสักนาทีเดียว!  

โดยเธอยังเผยข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรคนี้ ว่าเป็นโรคที่ซับซ้อน ที่เพิ่งจะเข้ามาในประเทศไทย และโชคร้ายที่เธอดันเป็น คนไทยแทบจะไม่รู้จักกับโรคนี้เลย มันเคยทำให้เธอคิดสั้นถึงขั้นฆ่าตัวตายมาแล้ว และเกือบเป็นอัมพฤตมาแล้ว รวมทั้งมันจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าด้วย เพราะอาการเจ็บปวดที่โคตรทรมาน แบบที่อธิบายไม่ได้ และไม่มีคนเข้าใจมัน พร้อมกับขอขอบคุณทุกคนที่เป็นห่วง
 



ทั้งนี้ สำหรับ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ตามข้อมูลจาก HONESTDOCS ระบุว่า เป็นภาวะเรื้อรังที่มีลักษณะการปวดและเจ็บกล้ามเนื้อตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย แม้ภาวะนี้จะได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคข้ออักเสบ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ข้อ หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดความเสียหาย 

มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงอายุ 30-50 ปี ผู้ป่วยจะต้องมีอาการปวดเรื้อรังตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ไม่มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แต่จะรู้สึกปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมากกว่า 7 ตำแหน่งขึ้นไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไม่สามารถทำงาน หรือเรียนได้

 


จะรู้สึกถึงอาการปวดที่แพร่กระจายไปทั่วตัว, อ่อนเพลีย แม้จะพักผ่อนเพียงพอ, มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ, อาการปวดข้อแย่ลงในตอนเช้า, มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ หรือการใช้สมาธิ, มีอาการชา หรือเหน็บตามร่างกาย, ไวต่ออุณหภูมิทั้งร้อนและเย็น, ไวต่อแสง หรือเสียงดัง, ปวดประจำเดือนในเพศหญิง, ปวดเมื่อถูกสัมผัส, คัน หรือแสบร้อนผิวหนัง, ปากแห้ง ตาแห้ง, ตะคริว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ปวดศีรษะ, ลำไส้แปรปรวน และมีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว หรือการประสานงานของกล้ามเนื้อ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด เพราะฉะนั้นการรักษาจึงเป็นเพียงการบรรเทาอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.