เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กสศ. - ตชด. เปิดโครงการพัฒนาครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน นำร่อง 50 แห่ง


14 พ.ค. 2563, 18:15



กสศ. - ตชด. เปิดโครงการพัฒนาครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน นำร่อง 50 แห่ง




วันที่ 14 พ.ค. 63 นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พร้อมด้วย พล.ต.ท.วิชิต ปักษา ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ผบช.ตชด.) ร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ผ่านระบบ video conference



ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า จากโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนแบบมีเงื่อนไขและพัฒนาคุณภาพครู กับโรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 220 แห่ง ที่ผ่านมานั้น จึงนำมาสู่โครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ซึ่ง กสศ. มุ่งหวังว่าจะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะของครู สู่การพัฒนาศักยภาพของเด็กที่เหมาะสมตามช่วงวัย ให้สอดรับภารกิจของ กสศ. โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 50 แห่ง จากโรงเรียนในสังกัด ตชด. ทั้งหมด 220 แห่ง จะกระจายอยู่ในพื้นที่ 15 จังหวัด จะมีครูที่ได้รับการพัฒนาทั้งหมด 485 คน เด็กนักเรียนได้รับประโยชน์ 5,335 คน หลักสูตรที่พัฒนาคาดว่าจะเรียบร้อยและใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนให้ครู ตชด.ได้ในปีการศึกษา 2564


ด้าน ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยลดอุปสรรคของการพัฒนาครูในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ด้านสำคัญ คือ การพัฒนาสมรรถนะครู ตชด. โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ การพัฒนาหลักสูตรผลิตครูของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของครู ตชด. เนื่องจากที่ผ่านมาครู ตชด.ไม่สามารถศึกษาต่อให้ได้รับคุณวุฒิทางวิชาชีพครู ด้วย 2 สาเหตุ คือ 1.ภาระงานที่ล้นมือ แม้ว่าโครงการจะจัดการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์ แต่โรงเรียน ตชด. ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เสียเวลาในการเดินทาง ทำให้ใน 1 สัปดาห์ ครูต้องฝากห้องเรียนไว้กับเพื่อนครู สัปดาห์ละ 2 วัน ครูในโรงเรียนต้องมีภาระเพิ่มขึ้น ส่วนครูที่ศึกษาต่อก็มีภาระงานทั้งความเป็นครู ตำรวจและนักศึกษาในที่สุด จึงต้องตัดสินใจยุติการเรียนกลางคัน เพราะความเหนื่อยล้าจากการมีภาระงานรอบด้าน 2.ภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเดินทางและค่าที่พักในการเดินทางไปเรียนวันเสาร์ อาทิตย์ ซึ่งครูต้องใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 3,000-3,500 บาทต่อครั้ง นอกจากนี้ ยังมีค่าตำราเรียน ค่าจัดทำเอกสารรายงานต่างๆ ยังไม่นับรวมภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ จึงทำให้ครูต้องยุติการเรียนกลางคัน






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.