เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"นายแพทย์" สาธารณสุขจังหวัดพังงา เตือนประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก


6 ก.ค. 2562, 11:36



"นายแพทย์" สาธารณสุขจังหวัดพังงา เตือนประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก




เมื่อวันที่ 6 ก.ค.62 นายนเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพังงา กล่าวว่า สำหรับโรคไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหะนำโรค โดยในช่วงที่ ปีที่ผ่านมาจังหวัดพังงาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน .2562 มีรายงานผู้ป่วย ไข้เลือดออก จำนวน 193 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 71.95 ต่อแสนประชากร เพศชาย 96 ราย เพศหญิง 97 ราย พื้นที่ที่พบจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ อำเภอตะกั่วทุ่ง รองลงมา คือ อำเภอตะกั่วป่าและอำเภอเมือง ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี และ กลุ่มอายุ 10-14 ปี โดย อ.ตะกั่วทุ่ง จำนวน 44 ราย อ.ตะกั่วป่า จำนวน 42 ราย อ.เมือง จำนวน 40 ราย อ.ท้ายเหมือง จำนวน 19 ราย อ.ทับปุด จำนวน 18 ราย อ.คุระบุรี จำนวน 16 ราย อ.เกาะยาว จำนวน 7 ราย และ อ.กะปง จำนวน 7 ราย



โดยทางสาธารณสุขในจังหวัดพังงา ทุกแห่งการดำเนินการกิจกรรม 3 เก็บ 3 โรค และกิจกรรม 5 ส ตามมาตรการการป้องกันโรคซิกาไวรัส ไข้เลือดออก และข้อสั่งการของปลัดกระทรวง โดยเน้นสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งต้องไม่มีลูกน้ำยุงลาย พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำในสถานพยาบาลทุกแห่ง และดัชนีลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน เกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดให้หมู่บ้าน มีค่า HI>10 ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของหมู่บ้าน และโดยอำเภอตะกั่วป่า คุระบุรี ท้ายเหมือง ตะกั่วทุ่ง กะปง และเกาะยาว มีค่า HI >10 เกินร้อยละ 20 ของหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 22.81, 21.21, 18.37, 17.65, 13.64 และ 11.11 ตามลำดับ โดยพบว่าดัชนีลูกน้ำในชุมชนของจังหวัดพังงา มีค่าร้อยละ 15.64 ของหมู่บ้าน มีค่าลดลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีค่า=19.48 ส่วนค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย(CI) ในโรงเรียนเกณฑ์เป้าหมายกำหนดให้ >0 ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของโรงเรียน พบว่าภาพรวมทั้งจังหวัด ค่า C I= 0.00 และทุกอำเภอ โรงเรียนมีค่า CI >0 ไม่เกินเกณฑ์เป้าหมาย


นอกจากนี้ ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ได้เร่งให้สถานบริการสาธารณสุขร่วมกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น อสม. และประชาชนเจ้าของบ้านเรือน เร่งดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการ 3 เก็บ เพื่อป้องกัน 3 โรค พร้อมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่ โดยใช้กระบวนการของ IVM เน้นควบคุมไม่ให้โรคแพร่ระบาดเพิ่มในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยใช้ มาตรการ 3-3-1 คือหลังโรงพยาบาลพบผู้ป่วย ให้รายงานโรคให้หน่วยควบคุมโรคของพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมง และลงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้าน ชุมชนผู้ป่วยภายใน 3 ชั่วโมง ให้ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ควบคุมโรคภายใน 1 วัน จัดทีมแพทย์ที่ปรึกษา แนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออก และแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย ให้กับ รพ.ชุมชนทุกแห่ง ขอความร่วมมือร้านขายยา คลินิก ในการระมัดระวังการจ่ายยา NSIDs ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการไข้ จัดเตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์และบุคลากรในการควบคุมป้องกันโรคต่อไป






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.