เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เปิดตัวหุ่นยนต์ "น้องยูงทอง" AI แชทบอทภาษาไทย ลดความเสี่ยงทีมแพทย์ติดเชื้อ


8 พ.ค. 2563, 17:50



เปิดตัวหุ่นยนต์ "น้องยูงทอง" AI แชทบอทภาษาไทย ลดความเสี่ยงทีมแพทย์ติดเชื้อ




วันที่ 8 พ.ค. 63 เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุม 1 สถานวิทยาศาสตร์คลินิก ชั้น 7 อาคารกิตติวัฒนา (ตึกฉุกเฉิน) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อานวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร รพ.ธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ

อาจารย์ ดร.วิรัช ศรเลิศล้าวาณิช สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร ผู้บริหาร iApp Technology Co.,Ltd ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวหุ่นยนต์ยูงทอง ที่ใช้แทนบุคลากรทางการแพทย์ ในการรักษาคนไข้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อานวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า หุ่นยนต์ยูงทอง เป็น AI แชทบอท ภาษาไทย ที่นำมาสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบแพทย์ธรรมศาสตร์ ทางไกล ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อจากคนสู่คน เพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 ที่สามารถให้บริการแทนทีมบุคลากรทางการแพทย์ได้ในบางกิจกรรม เช่น วัดไข้ แจกอาหาร/ยา การแจ้งเตือนต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย เพื่อติดตามอาการผู้ป่วยขณะรับไว้รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน เป็นต้นแบบนวัตกรรมด้านการรักษาพยาบาล สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการรักษาพยาบาลอื่น ๆ ได้

ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร ผู้บริหาร iApp Technology Co.,Ltd กล่าวเสริมว่า หุ่นยนต์ยูงทองเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SIIT) และบริษัทไอแอพพ์เทคโนโลยี จากัด (iApp) ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี 5G ได้ มี Software ที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการเสียงภาษาไทยสำหรับหุ่นยนต์ Temi และมี Function เสริมความสามารถให้หุ่นยนต์ โดยสามารถวัดไข้ของผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย โดยหุ่นยนต์จะใช้กล้อง Webcam ร่วมกับกล้อง Infrared Red เพื่อใช้ในการจดจำใบหน้า (Face Detection) และวัดอุณหภูมิของผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ เพียงยืนอยู่หน้ากล้อง 2 - 3 วินาที และจะทำการส่งผลการวัดไข้ให้บุคลากรทางการแพทย์โดยอัตโนมัติ สามารถเดินทางส่งอาหาร ยา หรือสิ่งของ และเครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ ในห้องกักกันเชื้อได้โดยไม่ต้อง ใช้รีโมทคอนโทรล ซึ่งจะใช้เทคโนโลยี LIDAR สแกนสภาพภายในห้องพักของผู้ป่วยโดยอัตโนมัติและจดจำ ตำแหน่งของเตียงผู้ป่วยไว้ หุ่นยนต์จะสามารถเดินทางไปส่งยาระหว่างช่องจ่ายยา และเตียงผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ เพียงแค่วางของไว้ที่ถาดด้านหลังของหุ่นยนต์และบอกปลายทางที่ต้องการให้ไปส่ง โดยไม่ต้องให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องใส่ชุด PPE เดินเข้าไปในห้องกักกันเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถทำ Teleconference โดยบุคลากรทางการแพทย์สามารถควบคุมหุ่นยนต์ผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเดินตรวจวอร์ดได้จากภายนอกหรือจากที่พักอาศัย โดยหุ่นยนต์สามารถใช้งานได้นานต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง หลังจากการชาร์จแบตเตอรี่เต็ม

นอกจากนี้ ยังมีระบบ ChatBot ที่สามารถพูดคุยและโต้ตอบเป็นภาษาไทยโดยบุคลากรทางการแพทย์สามารถเรียกชื่อ ของหุ่นยนต์ว่า “น้องยูงทอง” เพื่อเริ่มต้นส่งคำสั่งหรือส่งคำสนทนา และสามารถพูดคุยเล่นเพื่อคลายความกังวลของผู้ป่วยได้ ช่วยลดความจำเป็นในการเรียนรู้การใช้งาน หรือต้องใช้เจ้าหน้าที่มาคอยควบคุมซึ่งสิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่

1. การจัดหาอุปกรณ์วัดสัญญาณชีพต่าง ๆ

2. การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล

3. ระบบให้บริการภาพรวม การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

4. Customize บริการผู้ป่วยรายบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ ที่จำเป็น




ที่มา pathumthani






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.