เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"พนักงานโรงแรมชื่อดัง" ร้องศาลแรงงาน กรณีโรงแรมเปลี่ยนผู้บริหารใหม่-หลอกเซ็นต์หนังสือโอนย้ายพนักงาน


2 ก.ค. 2562, 12:28



"พนักงานโรงแรมชื่อดัง" ร้องศาลแรงงาน กรณีโรงแรมเปลี่ยนผู้บริหารใหม่-หลอกเซ็นต์หนังสือโอนย้ายพนักงาน




 

 

07.30 น. ผู้สื่อข่าว onb news รายงานว่า พนักงานโรงแรมชื่อดัง หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมตัวกันเรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณี นายจ้างเดิมโอนย้ายพนักงาน ให้ผู้บริหารโรงแรมรายใหม่ 

 

โดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยในการเลิกจ้าง ก่อนที่จะมีการโอนย้ายพนักงานไปกับผู้บริหารรายใหม่ ทำให้พนักงานโรงแรมเสียสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมาย 

 

ขณะที่นายจ้างใหม่ รับโอนย้ายเฉพาะ ตัวพนักงานแต่ไม่ได้รับโอนย้ายอายุงาน นายมานิตย์ ชูดำ แกนนำ เปิดเผยว่า ที่ผ่าน แต่ละคนมีอายุงาน ตั้งแต่ 10-25 ปี 

 

แต่ต้องกรอกใบสมัคร เพื่อเข้าเป็นพนักงานใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการทดลองงานกับผู้ประกอบการรายใหม่ ทำให้ 98 ราย ได้รับความเดือดร้อน 

 

ระบุ พนักงานที่ออกมาเคลื่อนไหว ต้องการร้องขอความเป็นธรรมกับนายจ้างเก่าที่ไม่ให้ความเป็นธรรม ไม่แจ้งล่วงหน้าว่าการเปลี่ยนผ่านบริษัท ไปยังผู้บริหารรายใหม่ โดยให้ฝ่ายบุคคลนำเอกสารการโอนย้าย ให้พนักงานกรอกแต่แจงรายละเอียดไม่ชัด ส่งผลทำให้ผู้บริหารเดิมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ในการเลิกจ้างงาน ทำให้พนักงานทั้งหมด เสียโอกาส และถูกเอาเปรียบโดยใช้เทคนิคทางกฎหมาย 

เคยยื่นไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดสงขลา แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายแรงงาน 

 

การรวมตัวเดินทางเข้ายื่นเรื่องอุทธรณ์คำสั่ง สวัสดิการแรงงานจังหวัด ต่อศาลแรงงานภาค 9 และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลาสงขลา ในวันนี้ เพื่อขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย

 

ด้านนายสุรสิงห์ จุนณศักดิ์ศรี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เปิดเผยว่า กรณี นายจ้างเดิมไม่ให้ความเป็นธรรมเพราะมีการเรียกพนักงานมาชี้แจง ทำความเข้าใจ ก่อนโอนย้ายไปสู่นายจ้างใหม่ สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างทั้งหมด ได้รับความคุ้มครอง โดยมีการเซ็นยินยอม จึงไม่ใช่ประเด็นเรื่องการหลอกให้เซ็นโอนย้าย

กรณีที่ 2 ซึ่งลูกจ้างอ้างว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 62 ที่ผ่านมานายจ้างใหม่ ให้เขียนใบสมัครใหม่ และให้ลูกจ้างทดลองงานใหม่ นั้น ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างใหม่ดำเนินการไม่เกี่ยวกับนายจ้างเดิมแล้ว และก็เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะเขียนหรือไม่เขียน และเท่าที่ทราบขณะนี้ลูกจ้างส่วนใหญ่(มีบางคนลาออกไปแล้ว) บางส่วนยังทำงานอยู่กับนายจ้างใหม่ ยังไม่มีการบอกเลิกจ้าง  

 

ลูกจ้างรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเสียสิทธิเรื่องค่าชดเชย ซึ่งจากกรณีที่เกิดลูกจ้างทั้งหมดได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างเก่า พนักงานตรวจแรงงานสอบข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่านายจ้างเก่ายังไม่ได้มีการเลิกจ้างลูกจ้าง แต่ได้โอนพนักงานทั้งหมดให้นายจ้างใหม่โดยมีเอกสารการโอนและชี้แจงให้ลูกจ้างทั้งหมดรับทราบแล้วว่านายจ้างใหม่จะรับสิทธิต่างๆของพนักงานไปทั้งหมด(รวมอายุงานด้วย) เมื่อเป็นดังนี้พนักงานตรวจแรงงานจึงวินิจฉัยออกคำสั่งว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างเก่า ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการตัดสิทธิเรื่องอายุงานและค่าชดเชยของลูกจ้างแต่ประการใดตราบเท่าที่ลูกจ้างยังทำงานอยู่กับนายจ้างใหม่

 

หากเมื่อใดที่นายจ้างใหม่เลิกจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างก็มีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยได้ ซึ่งค่าชดเชยมีอายุความ 10 ปี

 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.