เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กระจ่าง! ไข 9 ข้อสงสัยเกี่ยวกับ "โควิด-19"  เดินผ่านคนป่วยติดโรคได้หรือไม่


16 มี.ค. 2563, 16:04



กระจ่าง! ไข 9 ข้อสงสัยเกี่ยวกับ "โควิด-19"  เดินผ่านคนป่วยติดโรคได้หรือไม่




วันที่ 16 มีนาคม 2563 เพจกระทรวงสาธารณสุข เผยคลิปไขข้อสงสัย 9 ข้อเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 จาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลีนิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นราชบัญฑิต 

1. หากเดินสวนกับผู้ป่วย โควิด-19 จะติดโรคหรือไม่ 
คำตอบ การเดินสวนกันไปมาไม่ติดโรค เพราะจริงๆ แล้วโรคนี้ติดทางฝอยละออง ถ้าไม่มีการไอจามออกมา โอกาสที่จะติดน้อยมาก 
โดยทั่วไปการพูดคุยกันถ้าอยู่ในรัศมี 1 เมตร แล้วคนพูดเสียงดังมาก โอกาสที่ฝอยละอองจะมาถึงมีความเป็นไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงกำหนดระยะห่าง ถ้าเป็นไปได้ อย่างน้อย 6 ฟุต หรือ 2 เมตร ในช่วงที่มีการระบาดของโรค ในขณะนี้ประเทศจีน แม้กระทั่งการยืนเข้าคิวยังมีการกำหนดระยะห่าง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค 



2.จับของที่ส่งมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จะติดเชื้อโควิด-19 ?
คำตอบ การจับต้องสิ่งของ โดยทั่วไปสิ่งที่ส่งมาจะไม่ติดโรค แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีความเป็นไปได้ อยากให้ทุกคนหมั่นล้างมือ ก่อนจะจับต้องใบหน้า 

3.ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาไหม 
คำตอบ โดยปกติแล้วหน้ากากอนามัยเราจะใส่ไว้ให้กับผู้ป่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค ในกรณีที่คนปกติถ้าไปในที่ชุมชน หรือมีคนหมู่มาก อย่างรถไฟฟ้า รถเมล์  หรืองานที่มีคนเยอะๆ การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันก็มีเหตุผล 

4.ปัจจุบันมียาแก้วัคซีน สำหรับโควิด-19 ?
คำตอบ ในปัจจุบันโรคนี้ระบาดมากในประเทศจีน จึงได้มีการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะการใช้ยาในการรักษา ขณะนี้เริ่มมีข้อมูลออกมาแล้วว่าจะมียาที่จะต้านไวรัส หรือลดการติดเชื้อของไวรัสได้  ส่วนเรื่องของวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน เมื่อเกิดโรคระบาด นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ร่วมมือกันในการพัฒนาวัคซีน แต่การพัฒนาวัคซีนอาจต้องใช้เวลา มากกว่าจะหายามารักษา จึงอยากให้อดใจรอ

5.ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อ โควิด-19 มากกว่าคนทั่วไป? 
คำตอบ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะติดโรคได้เท่ากันในทุกอายุ เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ คนเราทุกคนยังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ จึงมีโอกาสติดได้เท่ากัน ไม่ว่าจะร่างกายแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ การติดโรคมีโอกาสติดได้เท่ากัน แต่ความรุนแรงของโรคอาจจะแตกต่างกัน คนที่มีร่างกายแข็งแรงดี หรืออายุน้อย ความรุนแรงของโรคก็จะน้อยกว่าผู้ที่มีอายุมาก หรือมีโรคประจำตัวร่วมด้วย

6.ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะฟักตัว สามารถแพร่เชื้อได้?
คำตอบ จากข้อมูลการศึกษาในปัจจุบันที่มีมาแล้วจำนวนมาก โรคโควิด-19 มีระยะฟักตัวตั้งแต่วันที่ 1-14 วัน โดยมาตรฐานทั่วไปแล้วเราจะให้ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเก็บตัวอยู่ที่บ้านเป็นระยะเวลา 14 วัน ในขณะนี้เริ่มมีข้อมูลออกมาว่า ผู้ป่วยระยะฟักตัวในระยะท้ายๆ อาจจะติดโรคไปยังผู้อื่นได้ แต่ยังไงก็ตาม ผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ โอกาสที่จะไอ จาม หรือมีฝอยละอองออกมา โอกาสเกิดขึ้นได้น้อยกว่าผู้ที่มีอาการ ดังนั้นถ้าคนที่ไม่มีไอ หรือจาม โอกาสที่จะแพร่ไปสู่ผู้อื่นก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มเสี่ยงที่มาจากแหล่งระบาดของโรค อยากให้ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการใส่หน้ากาอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของโรค สำหรับคนที่เป็นโรค และควรกำหนดระยะห่างของบุคคล ระยะห่างกับคนในบ้าน ไม่ไปคลุกคลีหรือหลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกัน


7.โควิด-19 หายแล้วเป็นอีกได้ 
คำตอบ ข้อมูลส่วนใหญ่จากการติดตามได้ 2 เดือน โดยหลักการทางไวัสวิทยา โคโรน่าไวรัส เมื่อเป็นแล้วควรจะมีภูมิต้านทานที่จะใช้ป้องกันไม่ให้โรคนี้กลับมาเป็นใหม่ได้ ต้องมีการศึกษาในระยะต่อไปว่า ตัวไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม

8.โควิด-19 ติดจากคนสู่สัตว์ และสัตว์สู่คน 
คำตอบ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าสัตว์เลี้ยงติดโรค โควิด-19 หรือเป็นพาหะโรค หรือเป็นตัวแพร่กระจายโรค ถึงแม้ว่าจะมีรายงานเชื้อในไวรัสฮ่องกง แต่เป็นการพบตัวเดียว การพบนั้นปริมาณไวรัสค่อนข้างต่ำ และสุนัขตัวนั้นติดเชื้อ หรือเป็นการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเข้าสู่สุนัข 

9.โควิด-19 ทนอากาศไทยไม่ได้
คำตอบ อากาศที่ร้อนโดยทั่วไปแล้วไวรัสจะทนความร้อนได้ไม่ดี หรือจะตายง่ายโดยสภาวะอากาศร้อน มากกว่าอากาศที่เป็นชื้น หรือเย็น โชคดีที่โรคติดต่อทางเดินหายใจในประเทศไทยพบน้อยในฤดูร้อน แล้วจะเริ่มพบมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ฝากเตือนประชาชนเรื่องการอ่านสื่อในโซเชียล เกี่ยวกับโควิด-19 จะทำให้จิตใจมีความวิตกกังวล ซึ่งในกรณีนี้อาจกระทบทางจิตใจ จึงต้องมีสติ และแยกให้ได้ว่าสิ่งไหนเป็นความรู้ และสิ่งไหนเป็นความเห็น อยากให้นำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.