เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มท.2 ชี้การกระจายอำนาจทศวรรษที่ 3 เน้นลดความเลื่อมล้ำ แนะท้องถิ่นดูแลปชช.มากขึ้น


11 มี.ค. 2563, 14:50



มท.2 ชี้การกระจายอำนาจทศวรรษที่ 3 เน้นลดความเลื่อมล้ำ แนะท้องถิ่นดูแลปชช.มากขึ้น




วันนี้ ( 11 มี.ค.63 ) เมื่อเวลา 09.30 น. ณ โรงแรมทีซิกซ์ไฟว์ พัทยา จ.ชลบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางการกระจายอำนาจการเงินการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทศวรรษที่ 3” โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ สมชัย ฤชุพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ วีระศักดิ์ เครือเทพ และ นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เป็นวิทยากรร่วมบรรยายในครั้งนี้



นายนิพนธ์ฯ รมช.มท. กล่าวตอนหนึ่งว่า ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมานั้น องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความแตกต่างของสังคมเมืองกับสังคมชนบทลงได้ ทำให้การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชนในชนบทมาสู่เมืองลดลง ซึ่งหลังจากนี้ต่อไปในทศวรรษที่ 3 ท้องถิ่นจะต้องเข้ามาเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการดูแลเรื่องความเหลื่อมล้ำของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนให้ครอบคลุมในทุกมิติ ซึ่งการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การดูแลเรื่องความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน จะต้องเป็นไปเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างคนรวยกับคนจนลงได้ เช่น ในเรื่องมาตรการภาษีเงินได้บุคคล จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำลดลง


รมช.มท. ยังกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา เรื่องการกระจายยังคงมีอุปสรรคหลายๆปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกฎหมายกระจายอำนาจ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทเพื่อให้ท้องถิ่นมีอำนาจการบริหารจัดการสาธารณะได้มากขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในพื้นที่ที่ท้องถิ่นรู้ปัญหาในฐานะที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน จะเห็นได้ว่าการกระจายอำนาจในประเทศไทยในมุมมองของผม ด้วยการกระจายอำนาจเป็นเรื่องใหม่ มีการเขียนข้อจำกัดกฎหมายของท้องถิ่นมากเกินไปในเรื่องอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นเสียโอกาสในการทำกิจการที่เป็นบริการสาธารณะต่าง ๆ ประชาชนเสียโอกาสในการเข้าถึงการบริการของรัฐ ถ้าท้องถิ่นยึดตัวกฎหมายมากเกินไป ท้องถิ่นก็ยังคงยึดกับโครงสร้างเดิมเหมือนช่วง 20 ปีที่ผ่านมาที่ประเทศไทยขาดโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ท้องถิ่นมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันจึงจำเป็นที่ต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแลเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชน






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.