เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



 หมอธีระวัฒน์ รับ COVID-19 กลายพันธุ์ได้เรื่อย ๆ จนไม่รู้คนไข้  เป็นอะไรแน่ 


7 มี.ค. 2563, 14:08



 หมอธีระวัฒน์ รับ COVID-19 กลายพันธุ์ได้เรื่อย ๆ จนไม่รู้คนไข้  เป็นอะไรแน่ 




 


  "ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ "ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง" ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน  เปิดใจใน รายการ โหนกระแส วันที่ 6 มีนาคม 2563  กรณีที่ทีมนักวิจัยจีนตีพิมพ์เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารวิชาการ เนชั่นแนล ไซนซ์ รีวิว เมื่อวันที่ 3 มีนาคมนี้ ระบุว่า โคโรนาไวรัส 2019 ซึ่งก่อให้เกิดโรค COVID-19 นั้น สามารถกลายพันธุ์ได้

สิ่งที่น่าตกใจมาก COVID-19 กลายพันธุ์ได้จริง ๆ เหรอ ?

          ศ.นพ. ธีระวัฒน์ : "เราทราบกันมาตั้งแต่ปี 2004 สักประมาณ 17 ปีที่แล้วว่าค้างคาวที่อยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของโรคซาร์ส และค้างคาวที่นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนไปสำรวจ พบว่าค้างคาง 1 ตัว มีไวรัสโคโรนาที่ไม่ใช่ซาร์ส แต่ยังไม่ระบุชื่อ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าค้างคาว 1 ตัวมีไวรัส 2 ตัว ฉะนั้นตั้งแต่ปี 2003-2004 ก็เริ่มเตือนให้จับตามองว่าไวรัสโคโรนาอาจประกอบร่างกลายเป็นตัวใหม่ หลังจากนั้นวิวัฒนาการในการแพร่โรคจากค้างคาวเข้าสู่คน ก็มาจากตัวลิ่นหรือตัวนิ่ม และขณะนี้ทราบแล้ววิวัฒนาการ COVID-19 มาจากตัวลิ่นหรือตัวนิ่ม

          การแพร่ให้คนจะเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ตอนที่แพร่ที่คน ตอนไม่ประกอบร่างใหม่ ตอนนี้ตัวไวรัสไม่ได้ประกอบร่างใหม่ แต่ถูกแรงกดดันจากสิ่งมีชีวิต จากสิ่งแวดล้อมมาเข้าสู่คน ตอนเข้าสู่คนแล้วก็มีวิวัฒนาการต่อ จะออกมาเป็นอีก 2 รูปลักษณะ ซึ่งตอนนี้ทั่วประเทศพอจะทราบกันอยู่ ว่ามีการรายงานว่าเป็นชนิด S กับตัว L รูป S คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม เชื่อว่าเริ่มมาก่อนในคน แต่เมื่อผ่านไปมีแรงกดดันต่าง ๆ ในทางเอื้อหนุนเลยกลายเป็นตัวแอล ตัวแอลมีการศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดจนระยะหลังการระบาด ตอนเริ่มต้นระบาดประมาณต้นมกราคม เป็นตัวแอล ตัวแอลตัวนี้ดุร้ายมาก มีการกระจายตัวเร็ว"

 


ปัจจุบันนี้ที่สองตัวมารวมกันคืออะไร ?

          ศ.นพ. ธีระวัฒน์ : "อันนี้เป็นการรายงานล่าสุด ตอนแรกมีตัวเอสกับแอล ดุร้ายกับนุ่มนวล แต่ตอนนี้ใน 1 คนที่ติดเชื้อปรากฏว่ามีไวรัสตัวนี้ ที่มีพันธุกรรมเริ่มแตกต่างกัน คนนึงติดเชื้อไปแล้ว อาจมีรหัสแตกต่างกันถึง 4 ตัว และอาจจะมากกว่านั้นอีก ลักษณะการที่อยู่ในตัวคนที่มีความเปลี่ยนแปลงในมนุษย์หนึ่งคนที่ติดเชื้อ ลักษณะก็จะคล้าย ๆ ที่เราเจอในไวรัสเอดส์ หรือไวรัสหัดที่เราเจอ"

มันผสมกันยังไง ?

          ศ.นพ. ธีระวัฒน์  : "ผสมอย่างไรยังไม่ทราบ มันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ตรงนี้เป็นลักษณะที่เราไม่ชอบ มันพยายามพัฒนาไปเพื่อให้มีความเหมาะสมที่จะแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้มากขึ้น"

 



 

มีการยืนยันว่ามันรวมตัวกันแล้วและกลายพันธุ์ได้ ?

          ศ.นพ. ธีระวัฒน์ : "มันเป็นตัวเก่าซึ่งหน้าตาผิดเพี้ยนไปจากเดิม มันยังเป็นกลม ๆ หนาม ๆ แต่ที่ผิดเปลี่ยนไป คือการตรวจด้วยอณูชีวของเรา ที่เราออกแบบไว้ ตรวจได้แม่นยำเวลาน้อย จะเข้าไปตรวจเป๊ะ ๆ เลย แต่ถ้ามีการผันแปรของพันธุกรรมตรงนั้น รายงานล่าสุดเมื่อวาน มีการเตือนด้วยว่าการที่เราใช้วิธีอณูวิทยาตรงนั้นอาจต้องระวัง เพราะถ้ามันวิ่งหนีจากรหัสที่เราตั้งไว้ก็อาจไม่เจอ เหมือนไขกุญแจ ถ้ารูกุญแจเปลี่ยนเกลียวไปนิดนึง ก็จะบิดไปไม่ได้

       

  แต่ตอนนี้อย่าเพิ่งตื่นเต้นมาก ในการตรวจ ณ ขณะนี้ยังพอตรวจจับได้ แต่ถ้าผันแปรไปเรื่อย ๆ จากคนไข้ไม่กี่สิบคนเท่านั้นเองที่พบว่ามีการผันแปรแบบนี้ ต้องติดตามว่าการตรวจของเรายังแม่นยำอยู่หรือไม่ แล้วการเกิดนั้นก็เกิดในยีนส์แต่ละท่อนพร้อม ๆ กันไปหมดเลย ที่เราออกแบบในการตรวจต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ที่ยีนส์ต่าง ๆ เวลาระวังอาจต้องระวังวิธีการตรวจว่ายังคงแม่นยำอยู่หรือเปล่า"

 







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.