เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ปลาบปลื้ม ตั้งรูปปั้น "โกษาปาน" อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรี ที่ถนนสยาม ฝรั่งเศส


16 ก.พ. 2563, 11:20



ปลาบปลื้ม ตั้งรูปปั้น "โกษาปาน" อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรี ที่ถนนสยาม ฝรั่งเศส




นับเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่ทุกคนรู้จักกันดี สำหรับ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือ ออกพระวิสุทธิสุนธร ราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ท่านเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และเป็นน้องชายของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคนสำคัญของกรุงศรีอยุธยา

 



ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 63 สมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดทำรูปปั้น "Kosa Pan : Le buste โกษาปาน อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรีที่ถนนสยาม" และนำไปประดิษฐาน ณ ถนนสยาม สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวาน(15 กพ 2563) และน่าจะกลายเป็นจุดเช็คอินสำคัญของคนไทยแห่งใหม่สำหรับการไปเยี่ยมเยือนเมืองแบรสต์ ฝรั่งเศส

 


 
โดยนาย Pol Moal  ผู้อยู่เบื้องหลังและทำงานให้ครูและ นักเรียนไทย มาโดยตลอดร่วมกับ ATPF โครงการของ ร.ร มงฟอร์ตคงจะไม่ได้รับความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ถ้าไม่มีนาย Pol "un homme sacré" ผู้ทำหน้าที่เหมือนโกษาปานเวอร์ชั่นฝรั่งเศส และผู้เป็นกำลังขับเคลื่อนในทุกๆงานของไทยและฝรั่งเศสถ้าพระยาโกษาปานเป็นผู้เจริญสัมพันธไมตรีฝั่งไทย นาย Pol ถือเป็นผู้เจริญสัมพันธไมตรีฝั่งฝรั่งเศส

 


Pol Moal

 

 


อาจารย์วัชระ ประยูรคำ ปฏิมากรผู้ปั้น รูปปั้นโกษาปาน

 

รศ.ดร.ธิดา บุญธรรม อุปนายกสมาคมครูฝรั่งเศสประเทศไทย

 


เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส


 

จากประวัติ โกษาปานเดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 รวมเดินทางไปกลับอยุธยาฝรั่งเศสทั้งหมด 1 ปี 9 เดือน หลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระเพทราชา เจ้ากรมพระคชบาล ขึ้นครองราชย์ต่อโดยสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นราชวงศ์ใหม่ โกษาปานได้รับราชการต่อมาในราชวงศ์ใหม่ 


โกษาปาน ทำหน้าที่เป็นผู้แทนองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เดินทางรอนแรมทางทะเลแรมเดือนเกือบครึ่งปี  โดยออกเดินทางจากปากน้ำพระยาในปลายปี พ.ศ.2228 และเดินทางไปถึงฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน 2229  ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 แห่งประเทศฝรั่งเศส ณ ท้องพระโรงพระราชวังแวร์ซายส์

 

 

 

โกษาปานพำนักที่เมืองแบรสต์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีผู้คนจำนวนมากเดินทางมาเยี่ยมเยียน พร้อมกับนำสิ่งของต่างๆ มาให้ จากนั้นจึงเดินทางต่อไปตามเมืองต่าง ๆ ด้วยขบวนรถม้าที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดให้จัดแต่งออกมารับ และมีพระราชบัญชาให้เจ้าเมืองต่างๆ ดูแลเรื่องที่พัก อาหาร ตลอดจนอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้คณะราชทูตสยาม กระทั่งเข้าใกล้ปารีส เพื่อเตรียมการรอเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ตามวันเวลาที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 

1 กันยายน พ.ศ.2229 เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์การทูตและประวัติศาสตร์ไทย ขบวนราชทูตสยามอัญเชิญพระราชสาส์นขึ้นพระมณฑป ตั้งกระบวนแห่เข้าพระราชวังแวร์ซายส์อย่างยิ่งใหญ่ มีผู้คนมาเฝ้าชมราวกับเป็นงานมหกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โกษาปานในฐานะราชทูต นำคณะชาวสยามเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ ท้องพระโรงกระจก พระราชวังแวร์ซายส์ เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่นี้ได้รับเกียรติยศอย่างสูง มีแถวทหารเกียรติยศตั้งรับ พระบรมวงศ์ในราชสำนักฝรั่งเศสเข้าร่วมในพิธีถวายพระราชสาส์นด้วย

 

โกษาปาน ผู้มีท่าทีอันอ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเคารพอย่างสูงต่อพระมหากษัตริย์คลานเข่าเข้าไปแทบเบื้องพระแท่นที่ประทับ และถวายบังคมตามแบบชาวสยาม ก่อนที่จะทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นและเครื่องมงคลราชบรรณาการอื่นๆกระบวนแห่งพระราชสาส์นที่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ และไม่ได้ทำให้ชาวไทยผิดหวัง






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.