เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



​​​​​​​ "ตา-ยาย" ควงแขนแต่งงาน ย้อนอดีตวันวาน กว่า 68 ปี ให้ลูกหลานดู พร้อมส่งตัวเข้าเรือนหอ


23 มิ.ย. 2562, 10:49



​​​​​​​ "ตา-ยาย" ควงแขนแต่งงาน ย้อนอดีตวันวาน กว่า 68 ปี ให้ลูกหลานดู พร้อมส่งตัวเข้าเรือนหอ




วันที่ 23 มิ.ย. 62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎเลยร่วมกับอำเภอภูหลวง  และชุมชนบ้านหนองบัว และอพท.5 จัดตรีมงานแต่งย้อนยุค ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองบัว เป็นการรื้อฟื้น​งานแต่งงาน​บ้านโบราณ ซึ่งเจ้าบ่าวในงานวันนี้ คือ  นายสวน  มีสีแก้ว อายุ 86 ปี  และเจ้าสาวคือ นางบัว  มีสีแก้ว อายุ 84 ปี ไม่เคยแต่งมาก่อน แต่อาจจะมีการ ผูกข้อต่อมือ สมัยหนุ่มสาว ที่คุณตาอายุ เพียง 20 ปีและ ยาย อายุเพียง 17 ปี ผ่านมาแล้ว กว่า  68 ปีมาแล้ว  และยังจำความได้ เล่าผ่านประสบการณ์ ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ในชุมชน พร้อมส่งตัวเข้าเรือนหอ ที่มีการ ตกแต่งขึ้นมาใหม่ อย่างสวยงาม

           

 



ก่อนนี้ อพท.5 มีการลงพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยร่วมกันกับ มหาวิทยาลัยเลย มีช่วยสร้างบ้านพักหรือเรือนหอ ของนายสวน มีสีแก้ว และเจ้าสาวคือ นางบัว มีสีแก้ว จากนั้นก็มาถึงการจัดงานแต่งงานแบบย้อนยุค แบบโบราณ โดยมีลูก 7 คน และ6 คน ร่วมเป็นสักขีพยานรัก

 

 

ด้าน รองศาสตราจารย์ไทยโรจน์ พวงมณี สำนักวิชาการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย กล่าวว่า สืบเนื่องจาก นางสาวลักขณา แสนบุ้งค้อ ตัวแทนประสานงานกับชุมชนได้มีการเปิดเผยว่า ที่มาว่า ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลยเป็นตำบลหนึ่งที่มีหลายหมู่บ้านรวมกันและคนในชุมชนก็มีการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งกิจกรรมเพื่อสังคมและกิจกรรมเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนเอง เช่นวัฒนธรรมและประเพณีเกี่ยวกับพญาช้างและนางผมหอมที่มีการจัดทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือการจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาตำบลด้วยการเก็บขยะและทำความสะอาดในพื้นที่สำคัญและพื้นที่สาธารณะ อย่างไรก็ดีชาวบ้านในเขตตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลยล้วนมีวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งแบบดั้งเดิมที่ค่อยๆเลือนหายไปพร้อมกับการพัฒนาเมืองและการศึกษาของคนในชุมชน เช่น วัฒนธรรมการแต่งงาน ที่ถือว่าเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่มีความสำคัญในสังคมไทย อันเป็นพิธีกรรมที่คาบเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนา ความเชื่อของท้องถิ่นและความเป็นสิริมงคลของชีวิตก่อนที่จะออกเรือนไปเป็นครัวเรือนใหม่


การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ในศิลปวัฒนธรรมของชุมชนนับว่าเป็นบทบาทหน้าที่ของหลายฝ่ายทั้งองค์กรภายนอกและองค์กรภายในที่จะต้องเข้ามาร่วมมือกันในการประสานงานและสร้างเครือข่ายการจัดกิจกรรมเกิดขึ้นโดยเน้นให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความตระหนักในวิถีชีวิตที่เป็นรากเหง้าดั้งเดิมที่ปัจจุบันอาจหายไปสู่วิถีการปฏิบัติในรูปแบบใหม่ ซึ่งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการแต่งงานของตำบลภูหอถือว่ามีความน่าสนใจเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่มานานและมีการจัดพื้นที่บ้านตาบัวและยายสายเป้ฯพื้นที่การเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนที่มีการจัดไปแล้ว

 

 

ดังนั้นการจัดกิจกรรมการแต่งงานจำลองเพื่อการสร้างและส่งเสริมการตระหนักรู้ในวัฒนธรรมของท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีขึ้นเพื่อที่จะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและการสร้างรูปแบบของการรู้รักสามัคคีของชุมชนเช่นเดียวกับการนำมาสู่การประชาสัมพันธ์ให้กับการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองบัว อำเภอภูหวง จังหวัดเลยและให้งานนี้ การส่งเสริมการเรียนรู้และการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนตำบลภูหอผ่านกิจกรรมเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม แสดงออกถึงความรักสามัคคีกันของคนในชุมชนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลยผ่านกิจกรรมเชิงศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน และเป็นการ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.