เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



น่าเป็นห่วง ! "จันทบุรี" ส่อภัยแล้ง หลังพบปริมาณน้ำกักเก็บน้อยกว่าปีที่ผ่านมา


2 ม.ค. 2563, 13:45



น่าเป็นห่วง ! "จันทบุรี" ส่อภัยแล้ง หลังพบปริมาณน้ำกักเก็บน้อยกว่าปีที่ผ่านมา




วันนี้ ( 2 ม.ค.63 ) ที่ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดจันทบุรี นายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล และ นายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นประธานในการประชุม คณะกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดจันทบุรี ที่เป็นคณะกรรมการส่วนอำนวยการ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดจันทบุรี( ภัยแล้ง ) ตามคำสั่งจังหวัดจันทบุรี ที่ 3792/2563 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ที่คาดว่าปีนี้ จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนผู้ใช้น้ำ ถึงแม้จังหวัดรวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้มีแผนในการป้องกันภัยแล้งที่คาดว่าจะยาวนาน และ รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา

ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดจันทบุรี พบว่า ปีนี้ ปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก และอ่างกักเก็บน้ำ ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ตอนนี้ ลดลงและมีที่น่าเป็นห่วงหลายแห่ง โดยข้อมูล ณ วันที่ 2 ม.ค.63 พบว่า ปริมาณน้ำที่เขื่อนคิรีธารขณะนี้ลดลงเหลือ 63.850 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 76 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84.01 ของความจุเขื่อน  / ปริมาณน้ำเขื่อนพลวง 67.668 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 80.18 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 84.39 ของความจุเขื่อน  / ปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย 10.000 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 12 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของความจุอ่าง / ประมาณน้ำอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ 48.541 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 78 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62.23 ของความจุอ่าง 

 

 

 

 

 

 

 



ปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำคลองประแกต 54.599 ล้าน ลบ.ม.จากความจุสูงสุด 60.26 ล้าน ลบ.ม. ประมาณน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองวังโตนด 4.380 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 8.85 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 49.49 ของความจุ ปตร. ประมาณน้ำที่ฝายยางจันทบุรี ปริมาณน้ำ 3.000 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 4.20 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของความจุฝ่าย  และปริมาณน้ำที่ฝ่ายยางท่าระม้า ปริมาณน้ำ 0.855 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 0.83 ล้าน ลบ.ม.ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เตรียมบริหารจัดการน้ำในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 63 ที่คาดว่าอาจจะเกิดวิกฤติภัยแล้งได้ซึ่งจังหวัดจันทบุรีถือเป็นจังหวัดที่มีอาชีพเกษตรกรรมและต้องใช้น้ำในช่วงหน้าแล้งเพื่อบำรุงผลผลิต ทุเรียน เงาะ มังคุด และผลไม้อื่น ๆ ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจสร้างรายได้แก่เกษตรกร จึงจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงขอให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้เตรียมความพร้อมป้องกันภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ใช้น้ำอย่างประหยัด และรู้คุณค่า แบ่งปันน้ำเพื่อการเกษตรอย่างทั่วถึงเพียงพอ การเตรียมตัวป้องกันที่ดีจะลดผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.