เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



5 ตำบลร่วมมือกันบูรณาการชลประทาน เตรียมรับมือภัยแล้ง จ.กาฬสินธุ์


17 ธ.ค. 2562, 10:46



5 ตำบลร่วมมือกันบูรณาการชลประทาน เตรียมรับมือภัยแล้ง จ.กาฬสินธุ์




 

วันที่ 17 ธ.ค.62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายประเทือง บุตรวงศ์ นายกเทศมนตรีตำบลอิตื้อ กล่าวว่า "พื้นที่ทั้ง 5 ตำบล ที่ได้มีผู้นำมาร่วมเสวนาในครั้งนี้เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งมายาวนานหลายชั่วอายุคน ในครั้งนี้จึงได้เชิญวิทยากรจากศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำกรมชลประทาน ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำที่มีนวัตกรรมต่างๆ เช่น การบริหารจัดการน้ำ  การบรรเทาภัยแล้ง การบรรเทาอุทกภัย การส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้น้ำน้อย ซึ่งสามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เกิดประโยชน์สูงและลงทุนต่ำแบบเทคโนโลยีชาวบ้าน ในโอกาสเดียวกันนี้ก็ขอขอบคุณ นางวันเพ็ญ เศรษฐรักษา ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้มารับข้อมูลเพื่อผลักดันงบประมาณช่วยเหลือโครงการแก้ไขปัญหาทั้งน้ำท่วมและแล้งของชาวบ้าน"

 

 

 



นายภัทรพล ณ หนองคาย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 6  ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ บรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ เปิดเผยว่า "ได้มีการนำศาสตร์พระราชาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแก้ปัญหา ในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งการนำ ฝายซอยซีเมนต์ ที่ใช้งบประมาณต่ำกั้นลำห้วยต่างๆ เพื่อเก็บกักน้ำ และการนำน้ำใต้ดิน หรือการเจาะบาดาลน้ำตื้นแล้วนำขึ้นมาโดยการใช้ปั๊มพลังงานจากแสงอาทิตย์ การทำบ่อพักน้ำแบบซอยซีเมนต์ หรือถังสูง เก็บกักน้ำรวมถึงระบบน้ำหยดซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นราคาถูกพร้อมกันนี้ก็ได้มีวิศวกรจิตอาสาเข้ามาช่วยให้ความรู้ในการก่อสร้างด้วย"

 

 

 


นายสุทธิพันธ์ ตันตระกูล หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมสำนักงานชลประทานจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า "ในเรื่องนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์  นายชัยธวัช เนียมศิริ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยทางจังหวัดกาฬสินธุ์มุ่งที่จะพัฒนาแหล่งน้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จะเก็บกักน้ำอย่างไร ขุดลอกตรงไหนสร้างเครือข่ายน้ำอย่างไร โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานต้องเร่งรับมืออย่างยั่งยืน"

 

 

นายกุศล  ดิลกลาภ ชาวบ้านหัวนาคำ ตำบลหัวนาคำ เกษตกรผู้เข้าร่วมเสวนา เปิดเผยว่า "ตนเองมีที่นาอยู่ 30 ไร่ ทำนาน้ำฝนอย่างเดียว ประสบปัญหาน้ำแล้งตลอด ได้ผผลิตปีละ 5 ตันเท่านั้น จึงตัดสินใจรับนวัตกรรมระบบบาดาลน้ำตื้นพลังแสงอาทิตย์ เพื่อทำการเกษตรผสมผสาน มั่นใจว่าจะฟื้นแปลงนาผืนนี้ให้อุดมสมบูรณ์ได้แน่นอน"

 

 

 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.