เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



องค์กรสตรีชายแดน รณรงค์ลดความรุนแรงในครอบครัว สังคม “I AM STRONG” เราไม่ทำร้ายผู้หญิง เนื่องในวันยุติความรุนแรงสตรีสากล


24 พ.ย. 2562, 16:07



องค์กรสตรีชายแดน รณรงค์ลดความรุนแรงในครอบครัว สังคม “I AM STRONG” เราไม่ทำร้ายผู้หญิง เนื่องในวันยุติความรุนแรงสตรีสากล




วันที่ 24 พ.ย.62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่ห้อประชุมบรมราชกุมารี คณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดนราธิวาส ทางเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนาแกนนำสตรีในชุมชน เป็นจิตอาสาเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัว ตามโครงการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแกนนำสตรีเพื่อแก้ไขหาชุมชนลดความรุนแรงในครอบครัว และรณรงค์ “I AM STRONG” เราไม่ทำร้ายผู้หญิง โดยกลุ่มแกนนำ เครือข่ายผู้หญิง และผู้นำศาสนา 13 อำเภอ จ.นราธิวาส เข้าร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้ กว่า 350 คน

ในการนี้ มีนางพาตีเมาะ สะดียามู รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาส นางชารีนา เจ๊ะละ ประธานชมรมผู้นำมุสลีมะห์นราธิวาส นางรอซีดะ บูซู ประธานเครือข่าย ยุติความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดร.รูฮานา สาแมง จากมหาวิทยาลัยฟาตอนี นายอับดุลการิม การี เจ้าหน้าที่ฝ่ายไกล่เกลี่ย คณะกรรมการอิสลาม จังหวัดนราธิวาส ร่วมบรรยายและให้ความรู้กับผู้ร่วมงานเสวนา สืบเนื่องในวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล” (International Day for the Elimination of Violence against Women)

ทั้งนี้เพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวและสร้างสันติสุขจังหวัดปัตตานี เป็นอีกโครงการหนึ่งที่จัดขึ้น โดยเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จชต. สนับสนุนโดย ศอ.บต. และองค์กรอ็อกแฟม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการป้องกันและให้ความช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ภัยคุกคามทางเพศในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมบูรณาการทำงานกับทีมสหวิชาชีพในระดับจังหวัด และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรี ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐในระดับตำบล ทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันและช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอันนำไปสู่การสร้างสภาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง

นางรอซีดะ เปิดเผยว่า ข้อมูลความรุนแรงต่อผู้หญิง หรือสตรี ในปีที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน มีปัญหาความรุนแรงมากขึ้น แค่ข้อมูล ตามที่จัดเก็บ ของสำนักงานคณะกรรมอิสลาม คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พบว่า แต่ละปีมีการร้องทุกข์ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว เฉลี่ยปี ละ 200 กว่าราย ในแต่ละที่ เป็นตัวเลขที่น่าใจหาย จำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือ บุคคลในครอบครัว ซึ่งทางองค์กรมีแผนที่จะ เดินหน้า เข้าถึงชุมชนในอนาคตอันใกล้ เพราะฐานครอบครัว อยู่ในชุมชน และชุมชน คือสังคม แตกย่อย ที่จะเป็นสังคมใหญ่ ต้องร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อให้เข้าถึง ครอบครัว เพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรี และเด็ก นี้เพียงข้อมูล ในอีกด้านหนึ่งเท่านั้น และบางคน บางครอบครัวไม่กล้าที่จะร้องทุกข์ ก็มีไม่น้อย สาเหตุ อาย หรือ ไม่พร้อมหลายๆ ด้าน ต้องความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นต่อเนื่อง

"และครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญที่สุดที่จะพัฒนาคนและสังคม อันจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต และสืบเนื่องจากปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ได้ส่งผลกระทบรอบด้าน โดยเฉพาะครอบครัว ขยายไปยังชุมชนกระจายไปยังสังคม ขาดซึ่งผู้นำครอบครัวอันเป็นเสาหลักในการดำเนินชีวิต ขาดที่พึ่งพิง ได้ที่จะใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่นี้จึงกลายเป็นวัฏจักรของการช่วยเหลือเกื้อกูลไม่ทอดทิ้งกันของคนในชุมชนสามารถ จะประคับประคองสังคมให้เดินไปด้วยกัน นับเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักและร่วมกันส่งเสริม ครอบครัว ชุมชน สังคม สามารถฟันความรุนแรงอันเกิดจากคนในครอบครัว หรือ ชดเชยลดความรุนแรง ท่ามกลาง ความรุนแรง จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้" รอซีดะ กล่าว

 

 

 

 



 

 

 


 

 

 

 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.