เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มร.อด. จับมือ อบต.ห้วยสามพาด ลงนาม MOU การบริหารจัดการขยะมูลฝอย


14 พ.ย. 2562, 17:30



มร.อด. จับมือ อบต.ห้วยสามพาด ลงนาม MOU การบริหารจัดการขยะมูลฝอย




วันนี้ (14 พ.ย. 62) ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายประจักษ์ อุดชาชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด, ดร.ชาลี เกตุแก้ว รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ได้ลงนามความร่วมมือ การบริการวิชาการ งานวิจัยด้านเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน และการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยมี นายวิมล วงศ์คำด้วง ผอ.โรงเรียนสะอาดนามูล, ดร.ปุณมนัสพงศ์ ปุณประเสริฐ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และนายพงศ์ชนะ หมั่นเก็บ ผู้ใหญ่บ้านโนนคำมี หมู่ 2 เป็นสักขี่พยาน ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด หมู่ 10 บ.สะอาดนามูล อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี

นายประจักษ์ อุดชาชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด เปิดเผยว่า บันทึกความมือฉบับนี้ อบต.ห้วยสามพาด และมหาวิทยาลัยอุดรธานี จะร่วมกันสร้างและพัฒนาความร่วมมือการบริการวิชาการ งานวิจัย เพื่อเรียนรู้ พัฒนา เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน และการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสนับสนุนให้นักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา และประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ งานวิจัย ในด้านเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พร้อมเป็นศูนย์กลางในการนำผลงานวิชาการ งานวิจัย ด้านเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน และการบริหาจัดการขยะลอย มาพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชนสังคมแบบมีส่วนร่วม

ตอนนี้เรื่องขยะเป็นวาระแห่งชาติ และนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ที่ต้องการจะทำให้จังหวัดอุดรธานีทั้งจังหวัดที่เป็น Smart city และเป็นจังหวัดของความสะอาด อบต.ห้วยสามพาดเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี ที่ต้องการที่จะรณรงค์ในเรื่องของขยะ โดยเราได้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ โดย อบต. ได้ประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ เข้ามาร่วมกันทำงาน ซึ่งโครงการนี้จะเปลี่ยนถังขยะหน้าบ้านของชุมชนเป็นกระถางดอกไม้ และเราคาดว่าจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่เราวางไว้

สำหรับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจะเข้ามาเติมเต็มและให้ความรู้ในด้านการเป็นวิชาการในเรื่องการดำเนินการจะต้องมีข้อมูลองค์ความรู้ในการคัดแยกกระบวนการจัดการ สิ่งหนึ่งเราต้องมีให้ประชาชนคือการสร้างความตระหนักได้บนฐานข้อมูล จากนั้นก็จะให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาจริงเสร็จแล้วก็จะเกิดความร่วมมือและเกิดกลไกต่อเนื่องตลอดไป

 

 



 



 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.