เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



คนโคราชได้เฮ !! รถไฟความเร็วสูง โคราช-สนามบินอู่ตะเภา เปิด ปี 2566


13 พ.ย. 2562, 13:05



คนโคราชได้เฮ !! รถไฟความเร็วสูง โคราช-สนามบินอู่ตะเภา เปิด ปี 2566





ต่อจากนี้ไป โคราช หรือ นครราชสีมา จะพลิกโฉมครั้งใหญ่ หลังจากมีรถไฟความเร็วสูง  ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร และ
นครราชสีมา เชื่อมไปเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก อีอีซี ปลายทางสนามบินอู่ตะเภา   ระยะทาง 457 กิโลเมตร  ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง 15 นาที ที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

 ปัจจุบัน รถไฟไทย-จีน เส้นทางสายอีสาน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร มีความคืบหน้าไปมาก จากการแบ่งซอยย่อยงานโยธาออกเป็น 14 สัญญาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  ภายใต้ความร่วมมือของ 2 รัฐบาล ระหว่างไทยกับจีน ปัจจุบันกำลังสร้าง 2 สัญญา อีก 10 สัญญาอยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.อนุมัติ พิจารณาราคาประมูล ตรวจสอบข้อเสนอด้านราคา และอีก 2 สัญญารอเปิดประมูลและความชัดเจนแบบก่อสร้างจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของกลุ่ม ซี.พี.ที่มีพื้นที่ทับซ้อนช่วงดอนเมือง-บางซื่อ

เช่นเดียวกับ ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบินไร้รอยต่อ (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) กระดูกสันหลังเมืองการลงทุนอีอีซีของภาครัฐที่มีการลงนามในสัญญา ไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 รฟท. กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่มี บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ฯ หรือกลุ่มซีพี ถือหุ้นใหญ่  เป็นผู้หาเงินมาลงทุนสร้างให้รัฐก่อน แลกสัมปทานเดินรถ 50 ปี โดยรัฐจ่ายคืน 10 ปี วงเงิน 117,227 ล้านบาท

 โครงการนี้นอกจากจะได้ทุนใหญ่เงินหนามาลงขันกันแล้ว ยังได้ 3 ยักษ์รับเหมามาเป็นผู้ก่อสร้างงานโยธาและติดตั้งระบบราง ทั้ง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ช.การช่าง และ บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (CRCC) จากจีน

   ตามไทม์ไลน์จะเริ่มก่อสร้างหลัง ร.ฟ.ท.เคลียร์การส่งมอบพื้นที่ให้เสร็จตามสัญญา โดยแบ่งสร้าง 3 ช่วง 1.พญาไท-สุวรรณภูมิ เริ่มได้ทันทีหากเอกชนจ่ายค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท 2.สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ใน 1 ปี 3 เดือนหรือไม่เกิน 2 ปี 3.พญาไท-ดอนเมือง ใน 2 ปี 3 เดือนหรือไม่เกิน 4 ปี   หากทุกอย่างเดินตามแผน จะเปิดบริการช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาได้ก่อนในปี 2566-2567 ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมืองเปิดในปี 2567-2568 ดูแล้วน่าจะเปิดบริการพร้อมกับรถไฟไทย-จีน


 สำหรับการเชื่อมโยง เมื่อ 2 ไฮสปีด อีสาน-อีอีซี กระชับเข้าหากันเพราะจังหวัดนครราชสีมา กับ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นทั้งเมืองท่องเที่ยวหัวเมืองใหญ่ และเมืองอุตสาหกรรม การค้าการลงทุน ที่คล้ายคลึงกัน

 

 ทั้งนี้หากมาจากภาคอีสาน แนวเส้นทางจะวิ่งจากสถานีนครราชสีมา ผ่านปากช่อง เข้าสระบุรี อยุธยา เข้าสู่กรุงเทพ มหานคร ที่สถานีดอนเมือง จากนั้นวิ่งเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ เชื่อมต่อไฮสปีด ซีพี มุ่งหน้าเข้าสถานีมักกะสัน ตรงไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสู่ สถานีฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าสู่ ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสถานีปลายทาง เมืองการบิน-สนามบินอู่ตะเภา นอกจากความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดปลอดภัย ในการเดินทางแล้ว ตลอดแนวไฮสปีดทั้ง 2 เส้นทางวิ่งผ่าน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นขุมทรัพย์ทำเงินที่น่าจับตา



 ทั้งนี้หากมาจากภาคอีสาน แนวเส้นทางจะวิ่งจากสถานีนครราชสีมา ผ่านปากช่อง เข้าสระบุรี อยุธยา เข้าสู่กรุงเทพ มหานคร ที่สถานีดอนเมือง จากนั้นวิ่งเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ เชื่อมต่อไฮสปีด ซีพี มุ่งหน้าเข้าสถานีมักกะสัน ตรงไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสู่ สถานีฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าสู่ ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสถานีปลายทาง เมืองการบิน-สนามบินอู่ตะเภา นอกจากความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดปลอดภัย ในการเดินทางแล้ว ตลอดแนวไฮสปีดทั้ง 2 เส้นทางวิ่งผ่าน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นขุมทรัพย์ทำเงินที่น่าจับตา







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.