แห่สรงน้ำ”พระคำตันทองคำ” 1 ปีได้สักการะครั้งเดียว พร้อมจุดธูปขอเลขเสี่ยงโชค
16 พ.ค. 2567, 13:07
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ ที่วัดศรีมงคล (วัดคลองคล้า ) หมู่ที่ 1 ตำบลหนองเเสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พระครูประคุณธรรมประโชติ เจ้าอาวาสวัดศรีมงคล พร้อมกับชาวบ้านไทยพวน ร่วมสืบสานประเพณีสรงน้ำพระ ประจำปี 2567 โดยอัญเชิญพระคำตันทองคำ ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านคลองคล้าศรัทธาเลื่อมใสเป็นพระคู่บ้าน คู่เมือง เป็นสมบัติล้ำค่าของชาวบ้านคลองคล้า โดยมี จ่าสิบเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมละออ นายอำเภอปากพลี เป็นประธานในพิธีสรงน้ำพระ พร้อมด้วย ผู้นำชุมชนและชาวบ้านคลองคล้าร่วมพิธี ซึ่งพิธีสรงน้ำพระคำตันทองคำนั้น จะจัดเพียงปีละครั้ง ให้ชาวบ้านได้สักการะขอพร และได้เห็นหลวงพ่อคำตันทองคำ แค่ปีละครั้งเท่านั้น เนื่องจากเป็นพระเก่าแก่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม จึงถูกเก็บไว้อยู่ในที่ปลอดภัยและไม่มีใครทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน จึงทำให้ชาวบ้านไทยพวนบ้านคลองคล้าศรัทธา มาร่วมสรงน้ำ สักการะ ขอพรให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ได้พืชผลทางการเกษตรที่ต้องการ ชาวไร่ ชาวสวน จะได้ทำไร่ไถนา ให้มีโชค มีลาภ กันทั่วหน้า เชื่อพิธีสรงน้ำพระคำตันทองคำนั้น มีความศักดิ์สิทธิ์จริงๆ เมื่อชาวบ้านทำการสรงน้ำพระคำตันเสร็จแล้ว ก็มีการจุดธูปขอโชคขอลาคจากหลวงพ่อคำตันทองคำ ซึ่งได้เลข 848 ให้ชาวบ้านได้นำไปเสี่ยงโชคกัน
จากการสอบถาม ส.ต.นรินทร์ นนท์ประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านคลองคล้า เล่าว่าตามประวัติพระคำตันทองคำมีอายุกว่า 200 ปี ชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่าอพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประมาณปี พ.ศ.2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์และหัวเมืองต่างๆ ชาวพวนได้ถูกต้อนมาอยู่ในไทย คือเมือง สระบุรี ลพบุรี ฉะเชิงเทรา และนครนายก ซึ่งจังหวัดนครนายกก็จะมีชาวไทยพวน แบ่งออกเป็นชุมชนและที่วัดคลองคล้าแห่งนี้ ก็จะมีกลุ่มไทยพวนมากพอสมควรที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานกันที่นี่ เชื่อว่าพระคำตันทองคำได้ติดตัวชาวพวนที่อพยพมา เป็นพระที่ถูกใจและเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทยพวน ซึ่งทุกปีช่วงหลังสงกรานต์แล้วจะมีการสรงพระคำตันทองคำ ขอพรในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะตรงกับเดือนหกของไทย ก็จะมีการสรงน้ำพระคำตันขอพรให้ฝนตกต้องตาม ฤดูกา ซึ่งพระคำตันทองคำมีเพียงแค่ 10 องค์ และเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนไทยพวนบ้านคลองคล้า ศรัทธานับถือเป็นพระคู่บ้าน คู่เมือง ของชาวไทยพวนบ้านคลองคล้า ที่ถูกเก็บรักษาและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป